โซเชียลมีเดีย เพิ่มพื้นที่เท่าเทียมให้สตรีชายแดนภาคใต้

 28 เม.ย. 2563 17:07 น. | อ่าน 2650
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+

          จากผลการศึกษา “อนาคตของธุรกิจ” ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง Facebook ธนาคารโลก และองค์การเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่ร่วมกันสำรวจธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหลายล้านราย จากทั่วโลก   ที่ใช้งาน Facebook พบว่าร้อยละ 51 ของผู้นำธุรกิจในประเทศไทยที่ตอบแบบสำรวจเป็นผู้หญิง และร้อยละ 40 ตอบว่าพวกเธอต้องการที่จะเป็นเจ้านายตัวเอง นอกจากนี้ ผู้นำสตรีเหล่านี้ยังกล่าวถึงบทบาทสำคัญของโซเชียลมีเดีย ที่มีต่อธุรกิจของพวกเขา โดยร้อยละ 90 เชื่อว่าโซเชียลมีเดีย มีประโยชน์ต่อการลงทุนของพวกเธอ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าผู้นำธุรกิจที่เป็นผู้ชาย นอกจากนี้ ผู้นำธุรกิจหญิงยังมีมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจของพวกเธอในอนาคต โดย ร้อยละ 26 บอกว่าพวกเธอคาดหวังว่าธุรกิจจะมีอัตราการเติบโตที่มากกว่าค่าเฉลี่ยในอนาคต อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ทำธุรกิจยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านการเติบโต และการเงินต่าง ๆ

          ในปี 2562 ที่ผ่านมา Facebook ประเทศไทย เปิดตัวโปรแกรม “Boost with Facebook” ภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตรจากกลุ่ม และชุมชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ ตลอดจนให้การสนับสนุนกลุ่มสังคมที่ขาดโอกาส ด้วยการติดทักษะที่จำเป็นสำหรับการสร้างธุรกิจขนาดย่อมให้ประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่ โดยจัดฝึกอบรมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อม ในด้านการทำการตลาดดิจิทัลผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ค เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และสร้างยอดขายให้เติบโต

Boost with Facebook เพิ่มพื้นที่เท่าเทียมในการแข่งขันสำหรับสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้

          ที่ผ่านมาผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จำนวนมากได้เริ่มต้นใช้ Facebook เป็นช่องทางการตลาดหลัก และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ใช้งาน Facebook เป็นหน้าร้านออนไลน์ด้วยการใช้ฟีเจอร์ Shop ของ Facebook ในการสร้างรายการสินค้าคุณภาพทั้งหมด ขับเคลื่อนการเติบโตของการซื้อขายสินค้าผ่านการแช็ทออนไลน์ (Conversational Commerce)  แทนการขายแบบที่ลูกค้าต้องเดินทางไปยังหน้าร้านซึ่งอาจอยู่ห่างไกล หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ในการเช่าพื้นที่หน้าร้านเป็นต้น

          หนึ่งในตัวอย่างของผู้ประกอบการกลุ่มสตรีจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้เข้าร่วมการอบรม และมีการใช้งานแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดีย Facebook ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมวานีตา ที่มีสมาชิกราว 1,000 คน    จากกลุ่มผู้หญิง 58 กลุ่มในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใน 4 อำเภอชายแดนสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง     มีสินค้าคือผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องแต่งกาย เครื่องจักสาน และงานหัตถกรรมต่าง ๆ และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ่านช่องทางออนไลน์ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปยังร้านค้าขนาดเล็กของพวกเขาในตัวเมืองของจังหวัดปัตตานี นำรายได้จากการขายกลับคืนสู่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจโดยตรง อีกทั้งยังสามารถเอาชนะทัศนคติและอุปสรรคต่างๆ ก้าวผ่านความขัดแย้ง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.