สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๓ - ๙ มิ.ย. ๖๐

 12 มิ.ย. 2560 12:02 น. | อ่าน 2195
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

  1. บทสรุปผู้บริหาร
          ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ข่าวเชิงบวกมีความถี่ลดลงร้อยละ ๒๗ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบมีความถี่ลดลงร้อยละ ๔๖ เทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐)
          ประเด็นข่าวเชิงลบ ได้แก่ เหตุร้ายรายวัน (ยิง ผช.ผญบ.ปัตตานี ดับขณะขี่ จยย. ส่งลูกไป รร.)
          ในส่วนประเด็นเชิงบวก ได้แก่ การศึกษา (ยกระดับ นศ.สู่ มหาวิทยาลัย 4.0), การยกระดับคุณภาพชีวิต (ปิดถนนไล่ล่า แว้นซ่าปัตตานี จับเยาวชน ๑๓ – ๑๘ ปี เจอฉี่ม่วง ๕ ราย), ความร่วมมือของภาคประชาชน (ภาคเอกชนร่วมเป็นเจ้าภาพพิธีธรรมพระบรมศพ), วัฒนธรรม และวิถีชีวิต (ชุมชนเจาะกะพ้อใน การร่วมอนุรักษ์ นกเงือกป่าบูโด สู่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ), การช่วยเหลือประชาชน (เสธ.ทร.ตรวจ ศบภ.พื้นที่ภาคใต้ เตรียมความพร้อมช่วยเหลือ ปชช.ช่วงมรสุม), การบำรุงขวัญกำลังพล (ผบ.ทบ.ลงใต้ให้กำลังใจ ชุด ปชด.ตากใบ เข้มการข่าวรับมือกลุ่มโจรใต้!), การรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน  (.....๑) ผบ.ทบ.ลงใต้เน้นย้ำทหารดูแล ปชช. พร้อมเพิ่มหน่วยขนาดเล็กลงพื้นที่, ๒) ผบ.ทบ เลือกนั่งโลว์คอสต์กลับกรุงฯ แทนเครื่องบินทหาร, ๓) คุมเข้มชายแดนไทยมาเลย์ป้องโจรใต้ และ ๔) จนท.ตรวจเข้มรถยนต์-จยย. หลังมีข่าวลือคนร้ายเตรียมป่วน ๓ จว.ชายแดนอีกรอบ!), กระบวนการยุติธรรม (ยธ.ชี้โทษประหารไม่ช่วยยับยั้งอาชญากรรุนแรง), และ เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (มท.๑ แนะติด ซีซีทีวี ทุกพื้นที่ จว.ใต้)
          จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘ ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) เล็กน้อย

    ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ สรุปได้ดังนี้
          การเพิ่มมาตรการเข้มงวดตรวจตราตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เป็นประเด็นที่สื่อมาเลเซียและสิงคโปร์ ให้ความสำคัญนำเสนออย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะความเข้มงวดการเดินทางผ่านเข้าออกบริเวณจุดผ่อนปรน ๖ จุด ติดแม่น้ำโกลกถูกตีความโดยสื่อมาเลเซียว่า เป็นมาตรการป้องกันการลักลอบขนอาวุธสงครามจากประเทศไทยข้ามไปประเทศมาเลเซีย ภายหลังตำรวจมาเลเซีย จับกุมสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ที่มีหลักฐานว่า เป็นตัวการลักลอบนำอาวุธสงครามจากไทยไปสะสมไว้ในมาเลเซีย เพื่อเตรียมก่อการร้าย
          ขณะเดียวกัน Straits Times สื่อสิงคโปร์รายงานว่า นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคหลายคนกังวลว่า IS กำลังมองหาโอกาสแทรกซึมเข้ามาร่วมมือกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย แต่ก็มีนักวิเคราะห์หลายคนที่เชื่อว่า เป็นเรื่องยากที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงใน จชต.จะจับมือกับ IS เนื่องจากมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน
          ทางด้านมาเลเซีย รัฐมนตรีกลาโหมประกาศว่า จะหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งไทย เพื่อร่วมมือป้องกันและปราบปรามภัยก่อการร้ายจากกลุ่ม IS และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เดินทางมาหารือกับมุขมนตรีแห่งรัฐกลันตันเรื่องการเพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงตามแนวพรมแดนมาเลเซีย-ไทย ทั้งนี้นับเป็นสัปดาห์ที่สองต่อเนื่องที่รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางมาตรวจราชการในรัฐภาคเหนือ ที่ติดกับพรมแดนไทย
          ส่วนประเด็นอื่นเกี่ยวกับ จชต. ที่สื่อมาเลเซียและสิงคโปร์ให้ความสนใจ คือ การปราบปรามจับกุมขบวนการค้ามนุษย์ ที่หลอกลวงคนไทยจากจังหวัดนราธิวาส และบังคับให้ขอทานในประเทศมาเลเซีย ในช่วงเดือนรอมฎอน คนไทยที่ได้รับการช่วยเหลือบอกว่า พวกเขาถูกบังคับให้ขอทานให้ได้วันละไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ริงกิต ซึ่งพวกเขาจะได้รับส่วนแบ่ง ๒๐ ริงกิต แต่หากขอทานไม่ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนและอาหาร

    ๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐
          ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

          ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -3.654ln(x) + 22.29) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๒๗ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -1.706ln(x) + 6.9277) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๖ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว

          ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
                เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

    วัน/เดือน/ปี

    จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

    จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

             ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)        

    2017-05-27

    26

    9

     2.89

    2017-05-28

    15

    4

     3.75

    2017-05-29

    14

    4

     3.50

    2017-05-30

    16

    5

     3.20

    2017-05-31

    18

    4

     4.50

    2017-06-01

    18

    2

     9.00

    2017-06-02

    20

    7

     2.86

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

     4.24

    2017-06-03

    12

    1

     12.00

    2017-06-04

    18

    2

     9.00

    2017-06-05

    17

    4

     4.25

    2017-06-06

    9

    0

     9.00

    2017-06-07

    16

    6

     2.67

    2017-06-08

    15

    4

     3.75

    2017-06-09

    6

    2

     3.00

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

     6.24

    หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

    ๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐
          ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

                ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ไม่มีทั้งข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
          ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

          ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.768ln(x) + 2.0961) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๘๙ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) ภาพข่าว ได้แก่ ยิง ผช.ผญบ.ปัตตานี ดับขณะขี่ จยย. ส่งลูกไป รร.

          ๓.๓ ประเด็นการเมือง

          ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.428ln(x) + 1.4848) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๗ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง(y = -0.528ln(x) + 1.6649) เฉลี่ยลดลง ร้อยละ ๓๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ได้แก่ ๑) บิ๊กตู่แฉอดีตทหาร - ตร.มือบึ้ม รพ.พระมงกุฎ และ ๒) ๔ คำถาม นายกฯ ถึงประชาชน รองปลัดมหาดไทย รับงาน ติวผู้ว่าฯ ทั่วประเทศรับฟังความเห็น เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ๑) ไทยติดโผ ๑ ใน ๒๐ ชาติอันตราย, และ ๒) ผกร. ส่งสัญญาณแสดงศักยภาพวางระเบิด กทม.

          ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

          ในช่วงวันที่ ๓ – ๙  มิ.ย.๖๐ ทั้ง ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ในสัปดาห์นี้ ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ฯ ได้แก่ ๑) ผบ.ทบ.ลงใต้เน้นย้ำทหารดูแล ปชช. พร้อมเพิ่มหน่วยขนาดเล็กลงพื้นที่, ๒) ผบ.ทบ เลือกนั่งโลว์คอสต์กลับกรุงฯ แทนเครื่องบินทหาร, ๓) คุมเข้มชายแดนไทยมาเลย์ป้องโจรใต้ และ ๔) จนท.ตรวจเข้มรถยนต์-จยย. หลังมีข่าวลือคนร้ายเตรียมป่วน ๓ จว.ชายแดนอีกรอบ! เป็นต้น

          ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

          ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.0206x2 + 0.3354x + 3.4066) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๒ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบมีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.0698ln(x) + 0.6602) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) เดินหน้าสร้างสนามบินเบตงวงเงิน ๒ พันล้าน คาดเปิดใช้ปลายปี, ๒) บิ๊กบี้ ลั่น!! ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ๔๐๐ บาท, ๓) สมอ. ยกระดับผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน, และ ๔) อุตฯ ลุยปล่อยกู้ ๑.๔ หมื่นล้าน SMEs ทั่วประเทศแห่ยื่น ๓ พันราย เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ปิด! จุดผ่อนปรน ๖ จุด ริมฝั่งแม่น้ำโก-ลก ชาวบ้านเดือดร้อนวอนยกเลิกคำสั่ง

          ๓.๖ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
                ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
          ๓.๗ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
                
    ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
          ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
                
    ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
          ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
          
    ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

    ๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
          
    ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

    ประเด็นเชิงลบ สรุปได้ดังนี้
    1. เหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ยิง ผช.ผญบ.ปัตตานี ดับขณะขี่ จยย. ส่งลูกไป รร.
    ประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้
    1. การศึกษา ได้แก่ ยกระดับ นศ.สู่ มหาวิทยาลัย 4.0
    2. การยกระดับคุณภาพชีวิต ได้แก่ ปิดถนนไล่ล่า แว้นซ่าปัตตานี จับเยาวชน ๑๓ – ๑๘ ปี เจอฉี่ม่วง ๕ ราย
    3. ความร่วมมือของภาคประชาชน ได้แก่ ภาคเอกชนร่วมเป็นเจ้าภาพพิธีธรรมพระบรมศพ
    4. วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ได้แก่ ชุมชนเจาะกะพ้อในการร่วมอนุรักษ์ นกเงือกป่าบูโด สู่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
    5. การช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ เสธ.ทร.ตรวจ ศบภ.พื้นที่ภาคใต้ เตรียมความพร้อมช่วยเหลือ ปชช.ช่วงมรสุม
    6. การบำรุงขวัญกำลังพล ได้แก่ ผบ.ทบ.ลงใต้ให้กำลังใจ ชุด ปชด.ตากใบ เข้มการข่าวรับมือกลุ่มโจรใต้!
    7. การรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ได้แก่ ๑) ผบ.ทบ.ลงใต้เน้นย้ำทหารดูแล ปชช. พร้อมเพิ่มหน่วยขนาดเล็กลงพื้นที่, ๒) ผบ.ทบ เลือกนั่งโลว์คอสต์กลับกรุงฯ แทนเครื่องบินทหาร, ๓) คุมเข้มชายแดนไทยมาเลย์ป้องโจรใต้ และ ๔) จนท.ตรวจเข้มรถยนต์-จยย. หลังมีข่าวลือคนร้ายเตรียมป่วน ๓ จว.ชายแดนอีกรอบ!
    8. กระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ยธ.ชี้โทษประหารไม่ช่วยยับยั้งอาชญากรรุนแรง
    9. เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. ได้แก่ มท.๑ แนะติด ซีซีทีวี ทุกพื้นที่ จว.ใต้

    ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

          จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วน และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐ พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.201ln(x) + 1.664) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๗ พ.ค. – ๒ มิ.ย.๖๐) จากระดับผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้ว เล็กน้อย

    ๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๓ – ๙ มิ.ย.๖๐
          
    การเพิ่มมาตรการเข้มงวดตรวจตราตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เป็นประเด็นที่สื่อมาเลเซียและสิงคโปร์ ให้ความสำคัญนำเสนออย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะความเข้มงวดการเดินทางผ่านเข้าออกบริเวณจุดผ่อนปรน ๖ จุด ติดแม่น้ำโกลกถูกตีความโดยสื่อมาเลเซียว่า เป็นมาตรการป้องกันการลักลอบขนอาวุธสงครามจากประเทศไทยข้ามไปประเทศมาเลเซีย ภายหลังตำรวจมาเลเซียจับกุมสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ที่มีหลักฐานว่าเป็นตัวการลักลอบนำอาวุธสงครามจากไทยไปสะสมไว้ในมาเลเซีย เพื่อเตรียมก่อการร้าย
          ขณะเดียวกัน Straits Times สื่อสิงคโปร์รายงานว่า นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคหลายคนกังวลว่า IS กำลังมองหาโอกาสแทรกซึมเข้ามาร่วมมือกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย แต่ก็มีนักวิเคราะห์หลายคนที่เชื่อว่า เป็นเรื่องยากที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงใน จชต.จะจับมือกับ IS เนื่องจากมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน
          ทางด้านมาเลเซีย รัฐมนตรีกลาโหมประกาศว่า จะหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งไทย เพื่อร่วมมือป้องกันและปราบปรามภัยก่อการร้ายจากกลุ่ม IS และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เดินทางมาหารือกับมุขมนตรีแห่งรัฐกลันตันเรื่องการเพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงตามแนวพรมแดนมาเลเซีย-ไทย ทั้งนี้นับเป็นสัปดาห์ที่สองต่อเนื่องที่รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางมาตรวจราชการในรัฐภาคเหนือ ที่ติดกับพรมแดนไทย
          ส่วนประเด็นอื่นเกี่ยวกับ จชต. ที่สื่อมาเลเซียและสิงคโปร์ให้ความสนใจ คือ การปราบปรามจับกุมขบวนการค้ามนุษย์ที่หลอกลวงคนไทยจากจังหวัดนราธิวาส และบังคับให้ขอทานในประเทศมาเลเซีย ในช่วงเดือนรอมฎอน คนไทยที่ได้รับการช่วยเหลือบอกว่า พวกเขาถูกบังคับให้ขอทานให้ได้วันละไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ริงกิต ซึ่งพวกเขาจะได้รับส่วนแบ่ง ๒๐ ริงกิต แต่หากขอทานไม่ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนและอาหาร
          ๕.๑ Straits Times สื่อสิงคโปร์ รายงานเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ว่า กองทัพไทยได้ระดมกำลังทหารลาดตระเวนตรวจตราแนวพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายแดนในจังหวัดนราธิวาสและยะลา บริเวณที่ติดต่อกับรัฐกลันตัน เคดาห์และเปรัค  เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒ มิถุนายน เป็นต้นไป เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญกรรมผิดกฏหมายและการเข้าออกประเทศแบบผิดกฏหมาย
          รายงานข่าวใน Straits Times อ้างข้อมูลจากสื่อไทย คือ Bangkok Post ระบุว่า มาตรการเข้มงวดตรวจตราตลอดแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เกิดขึ้นภายหลังเจ้าหน้าที่ความมั่นคงมาเลเซีย จับกุมนักรบสมาชิกกลุ่ม IS หลายคน ซึ่งมีพฤติการณ์สนับสนุน IS ในประเทศซีเรียและอิรัก รวมทั้งบางคนลักลอบขนอาวุธสงครามจากประเทศไทย จึงทำให้เกิดความกังวลว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงใน จชต.จะร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้าย IS
          รายงานข่าวอ้างคำพูดของ พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก สั่งการให้กองพลทหารราบที่ ๑๕ จัดหน่วยกำลังขนาดเล็กลาดตระเวนป้องกันการลักลอบขนยุทโธปกรณ์ รวมทั้งวัตถุระเบิดและการลักลอบข้ามแดนของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง

    (Thai soldiers have been deployed to patrol full time a long stretch of the Thai-Malaysian border in two provinces to stop illegal border crossings and smuggling, The Bangkok Post newspaper has reported. Thai army chief Chalermchai Sithisart approved the round-the- clock deployment of the border patrol teams at Narathiwat and Yala provinces from May 12, the paper said on Sunday. These provinces border the Malaysian states of Kelantan, Perak and Kedah. The patrols came about following recent news that the authorities in Malaysia had captured several militants from the country who support the Islamic State in Iraq and Syria (ISIS) and had been smuggling weapons from Thailand. This led to fears of possible cooperation between the Muslim insurgents in South Thailand and the ISIS terror group, Bangkok Post said. The soldiers from the 15th Infantry Division are deployed in small teams, and aim to block the smuggling of war materials, including explosives, and prevent illegal crossings by Thai insurgents, General Chalermchai said.)

    ที่มาข้อมูล ; http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/thai-soldiers-patrol-border-with-malaysia​

          ๕.๑.๑ สื่อมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ว่า ประชาชนนราธิวาสที่อาศัยบนริมน้ำโกลกประท้วงมาตรการปิดจุดผ่านแดนผิดกฏหมาย ๖ แห่ง ซึ่งประชาชนในท้องถิ่น เดินทางเข้าออกเป็นประจำ
          รายงานข่าวอ้างคำพูด พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก บอกว่า มาตรการคุมเข้มชายแดนเป็นความจำเป็น เพื่อแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน จชต. ซึ่งสื่อมาเลชเซียตีความว่า มีนัยยะถึงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าอาวุธสงครามข้ามประเทศ และการควบคุมการผ่านแดนของประชาชนตามช่องทางที่ไม่ถูกกฏหมาย
          รายงานข่าวของ The Star ระบุว่า การเข้มงวดการข้ามพรมแดนของทางการไทย เกิดขึ้นภายหลังมีข่าวทางการมาเลเซียจับกุมชาวมาเลเซียสมาชิกกลุ่ม IS ที่ตกเป็นผู้ต้องหาลักลอบนำเข้าอาวุธสงครามเข้ามาเลเซีย เพื่อใช้ก่อการร้าย

    (Residents from the Narathiwat side of Sungai Golok are protesting against the recent action by the Thai military to shut down six illegal jetties popular with locals. The Thais have been conducting round-the-clock patrols in the vicinity of the jetties in Yala and Narathiwat provinces since May 12 to the consternation of villagers who are used to moving freely across the border for trade and familial ties.
    Thai army chief Gen Chalermchai Sithisart was quoted in The Bangkok Post on Sunday as saying the move to tighten security at its border stems from the need to address the “insurgency problem in Thailand’s southern provinces”. Translated into action, it means to curb the smuggling of weapons and the free movement of people across the border without going through Customs and Immigration. Translated into action, it means to curb the smuggling of weapons and the free movement of people across the border without going through Customs and Immigration. In response to the restriction of access to the Gaji, Jambu, Bereng, Cek Kaseng, Retak and Buluh jetties, Narathiwat residents held a peaceful protest on Saturday.  Thai authorities blocked access to the jetties when news broke out that a suspected Malaysian-based Islamic State militant was arrested for allegedly smuggling arms for the terrorist organisation.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/nation/2017/06/06/thais-protesting-against-closure-of-six-illegal-sg-golok-jetties/

          ๕.๑.๒ สำนักข่าว Bernama ของทางการมาเลเซีย รายงานคำชี้แจงของ พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาลที่ออกมาอธิบายว่า รัฐบาลไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดจุดผ่อนปรนผ่านแดนริมแม่น้ำโกลก แต่เพิ่มมาตรการเข้มงวดตรวจตราการผ่านแดนเข้าออกประเทศ เพื่อป้องกันอาชญากรรมทุกประเภท รวมทั้งการลักลอบขนสิ่งผิดกฏหมาย

    (Thailand has decided to keep the seven boat crossings at Sungai Golok in Narathiwat opened as usual for the convenience of users from Thailand and Malaysia during the holy month of Ramadan.
    Nevertheless, government spokesman Lt Gen Sansern Kaewkamnerd said, the seven boat crossings will be put under intensified security inspection by the authorities to deter any illegal activities such as smuggling.
    "The people of two countries, Thailand and Malaysia could still use the boat crossings but inspections (by the authorities) to prevent untoward incidents at the areas will be intensified," he said during a media conference here today....)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1362384​

          ๕.๑.๓ สื่อมาเลเซียรายงานว่า อาหมัด ซาฮิด ฮามิดี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซีย ได้เดินทางไปหารือกับมุขมนตรีแห่งรัฐกลันตันเกี่ยวมาตรการดูแลความมั่นคงชายแดน พร้อมกับเปิดเผยว่า รัฐบาลมาเลเซีย มีนโยบายที่จะดูแลความมั่นคงและขจัดอาชญากรรมข้ามพรมแดน ด้วยการก่อสร้างกำแพงลวดหนาม และบอกว่า รัฐบาลท้องถิ่นรัฐกลันตัน พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลาง

    (On the issue of Kelantan-Thailand border safety, Zahid said a fencing wall will be set up to curb illegal movement. Ahmad added that the state government agreed to cooperate with the federal government in solving problems.)

          ๕.๒ Straits Times วันที่ ๑๐ มิถุนายน พาดหัวข่าวว่า “ความขัดแย้งใน จชต.อาจจะถูกกลุ่ม IS ร่วมบ่อนทำลาย” (Conflict in Thai south could be exploited by ISIS, warn analysts) และเนื้อหาดึงประเทศไทย เข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายสากล โดยระบุว่า การใช้กำลังทางทหารต่อสู้กันระหว่างกลุ่มการร้ายกับกำลังทหารรับฐบาลฟิลิปปินส์ ที่เมืองมาลาวี อาจเป็นสัญญานเตือนรัฐบาลไทย ให้เตรียมการจัดการปัญหาความขัดแย้งใน จชต. พร้อมทั้งอ้างนักวิเคราะห์หลายคน บอกว่า ความขัดแย้งใน จชต.อาจเปิดประตูให้กลุ่มก่อการร้าย IS ซึ่งมักหาทางเข้าไปก่อการร้ายในพื้นที่ความขัดแย้งที่มีประชากรมุสลิมตั้งถิ่นฐาน
          รายงานข่าวระบุว่า กองทัพไทย มีการเพิ่มมาตรการลาดตระเวน ๒๔ ชั่วโมง ตามแนวพรมแดนด้านจังหวัดนราธิวาสและยะลา ภายหลังการจับกุมสมาชิก IS ที่ต้องหาลักลอบขนอาวุธสงครามจากประเทศไทยเข้ามาเลเซีย

    (The armed conflict in the Philippines' Marawi city should serve as a wake-up call to the Thai authorities in addressing the insurgency in southern Thailand, analysts say, as the tensions could open the door for the ISIS terror group, which often exploits conflicts involving Muslims.
    Last week, Thailand started deploying 24-hour patrols in Narathiwat and Yala provinces bordering Malaysia, following news of the capture of an ISIS cell involving Malaysian militants who smuggled weapons across the border.)

          แอนโทนี่ เดวีส์ นักวิเคราะห์ความมั่นคง บอกว่า สถานการณ์ในภูมิภาคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งที่กรุงเทพฯ ก็ไม่อาจตั้งอยู่บนสมติฐานว่า เป็นเมืองที่ปลอดภัยจากความขัดแย้ง หรือการเพิ่มการตรวจตราชายแดน จะแก้ปัญหาภัยก่อการร้ายได้
          แอนโทนี่ บอกว่า เป็นที่ชัดเจนว่า IS สนใจที่จะกระโดดเข้าไปร่วมวงในพื้นที่ความขัดแย้ง ซึ่งมีชาวมุสลิมเกี่ยวข้อง และภาคใต้ของไทย ก็เป็นพื้นที่ที่ IS มองหาโอกาส

          ("Across the region, the ground is shifting rapidly and Bangkok can no longer afford the luxury of assuming the conflict will remain somehow insulated from these wider currents, or that stepped- up border patrols will solve the problem," Mr Anthony Davis, a Bangkok-based security analyst, told The Straits Times. "Clearly, ISIS has interest in exploiting areas of conflict which involve Muslims and south Thailand represents an area of opportunity.")

          ขณะที่ดอน ปาทาน นักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต. มีความเห็นต่าง เขามีความเห็นว่า บีอาร์เอ็นและ IS มีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน อีกทั้งบีอาร์เอ็น ก็มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่ต้อนรับ IS

          ("(BRN and ISIS) do not share the same ideology and BRN has made it very clear that ISIS is not welcome," said Mr Don Pathan, an analyst who writes about southern Thailand issues.)
          ที่มาข้อมูล ; http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/conflict-in-thai-south-could-be-exploited-by-isis-warn-analysts
     

          ๕.๓ Benarnews รายงานว่า ฮิชัมมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย ออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่  ๙ มิถุนายน เสนอให้มีการจัดประชุมนัดพิเศษรัฐมนตรีกลาโหม ๕ ชาติอาเซียน ประกอบด้วยมาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เพื่อหารือกำหนดมาตรการรับมือภัยก่อการร้ายจาก IS รมต.กลาโหมมาเลเซีย บอกว่า ทั้งห้าชาติ เกี่ยวข้องกับทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภัยก่อการร้ายของกลุ่ม IS จึงต้องร่วมกันหาทางจัดการกับปัญหานี้โดยด่วน ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบ่อนทำลายเสถียรภาพ และอธิปไตยของประเทศสมาชิกอาเซียน รมต.กลาโหมมาเลเซีย มีแถลงการณ์เรื่องนี้ ภายหลังเดินทางไปพบหารือกับ รมต.กลาโหม ฟิลิปปินส์ ที่เกาะมินดาเนา

    ( Malaysia’s defense minister Friday proposed a special meeting with his counterparts from Indonesia, the Philippines, Singapore and Thailand to discuss what he described as a threat to all five countries by the extremist group Islamic State (IS). Minister Hishammuddin Hussein made the remarks as he visited Mindanao island in the southern Philippines, where he met with his Philippine counterpart, Defense Secretary Delfin Lorenzana. Mindanao is where IS-linked Filipino militant groups, backed by fighters from Indonesia, Malaysia, Singapore and other nations, have been battling Philippine government forces in the besieged city of Marawi for well over two weeks. In a statement released Friday, Hishammuddin said the five defense ministers should meet as soon as possible to discuss ways to work together to counter a regional threat from IS. “This is because the five countries directly and indirectly are involved with the Daesh threat,” he said, referring to IS by another name. “This situation must be addressed immediately before they become more aggressive and jeopardize the stability and sovereignty in the region.”)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/malaysian/ministers-meet-06092017170700.html

          ๕.๔ Business Insider สื่อออสเตรเลีย รายงานเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน อ้างรายงานความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งจัดทำโดย World Economic Forum ซี่งรายงานดังกล่าว มีการจัดอันดับความปลอดภัยและความเสี่ยง ที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้รับผลกระทบ จากภัยก่อการร้ายและความรุนแรงอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับอาชญากรรมตามปกติ โดยจัดอันดับจาก ๑๓๖ ประเทศ ปรากฏว่าประเทศไทย มีความเสี่ยงอยู่ในลำดับที่ ๑๙ พร้อมทั้งบรรยายว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีอันตรายมากที่สุดของประเทศ ในช่วง ๑๓ ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งทั้งสิ้น ๖,๕๐๐ คน

    (The World Economic Forum recently released its Travel and Tourism Competitiveness Report, which analyzes the state of the travel and tourism sectors in 136 countries. As a part of the report, the WEF ranks the safety of each of those countries. To come up with this ranking, the forum "measures the extent to which a country exposes tourists and businesses to security risks mainly related to serious harm to people (violence and terrorism)." The ranking does not take petty crime into account. We rounded up the 20 most dangerous countries from the report, based on safety and security.
    Keep reading to see which countries you might want to avoid. The provinces of Yala, Pattani, Narathiwat, and Songkhla — all of which are in southern Thailand — are the most dangerous in the country. In the past 13 years, more than 6,500 deaths have occurred in these areas because of violence. There's also a martial law in effect in the region.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.businessinsider.com/dangerous-countries-2017-5/#19-thailand-2​

          ๕.๕ สื่อมาเลเซียและสิงคโปร์ รายงานข่าวติดต่อกันหลายวัน เกี่ยวกับการจับกุมแก๊งค์ค้ามนุษย์ ที่ล่อลวงคนไทยจากนราธิวาส ไปขอทานในประเทศมาเลเซีย พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกล่อลวงมาขอทาน โดยรายงานเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน สื่อมาเลเซีย รายงานว่า ตำรวจมาเลเซีย ได้ช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์คนไทยจากนราธิวาส ๕ คน ที่หลอกลวงมาขอทาน ขณะตระเวนขอรับบริจาค โดยอ้างว่า จะนำเงินไปบูรณะมัสยิดในจังหวัดนราธิวาส และต่อมาตำรวจในรัฐเปรัค ได้จับกุมชายผู้ควบคุมเหยื่อค้ามนุษย์ ที่ใช้ชื่อ “อุสตาซ ปอ เต็ก”
          ผู้ช่วยผู้บัญขาการตำรวจรัฐเปรัค บอกว่า เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ให้การว่า พวกเขาต้องขอทานตั้งแต่ ๖.๓๐ น. ถึงหนึ่งทุ่ม และถูกตั้งเป้าให้ขอทานให้ได้วันละ ๑๐๐ ริงกิต ซึ่งพวกเขาจะได้ค่าตอบแทน ๒๐ ริงกิต แต่หากได้ต่ำกว่าเป้า พวกเขาก็จะไม่ได้รับค่าตอบแทนและอาหาร
          ทั้งนี้เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ทั้งหมดเป็นชาวนราธิเวาสที่มีฐานะยากจน เดินทางเข้าประเทศมาเลเซียทางรถยนต์ผ่านทางปาดังเบซาร์

    ( Five Thai nationals, believed to be victims of human trafficking, have been freed from the clutches of a begging syndicate.
    Perak crime chief Senior Asst Comm Datuk Gan Tian Kee said the five victims, all men aged 18 to 28, had been soliciting funds for the supposed construction of a mosque in Narathiwat, Thailand, for the past 11 months.
    He added police also arrested another 36-year-old Thai man, who acted as the victims' taskmaster, following a raid at a house at Taman Tanjung Damai in Tanjung Rambutan at 9.50pm on Tuesday. "Police first picked up one of the victims in Gunung Rapat at about 3.30pm. On him was a file with documents of his begging activities and receipts for a Masjid Nurul Huda.
    "The victim then led us to the house where the four other victims and the suspect were resting," he said.
    "Initial investigations show that the victims were made to beg in various parts of Ipoh from 6.30am to 5pm daily. During the month of Ramadan, they begged from 6.30am to 7pm. "They were paid RM20 per day if they managed to collect RM100, failing which they would not get any food.
    According to SAC Gan, the victims were all from poor families and had entered the country by car via Padang Besar.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/nation/2017/06/07/cops-rescue-five-thais-from-begging-syndicate/
    https://www.nst.com.my/news/nation/2017/06/246867/cops-rescue-thai-syndicate-victims-forced-beg-ipoh-streets​
    http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1362714​
    http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/malaysia-police-say-thai-nationals-forced-to-wear-traditional-malay-clothes-and-beg​

    เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

    ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

    ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

    มากกว่า 2.00

    เพิ่มมาก

    1.10 – 2.00

    เพิ่มค่อนข้างมาก

    0.60 – 1.00

    เพิ่มในระดับหนึ่ง

    0.10 – 0.50

    เพิ่มเล็กน้อย

    0.02 – 0.09

    เพิ่มเพียงเล็กน้อย

    0.00 – 0.01

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.01) – 0.00

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.09) – (-0.02)

    ลดเพียงเล็กน้อย

    (-0.50) – (-0.10)

    ลดเล็กน้อย

    (-1.00) – (-0.60)

    ลดในระดับหนึ่ง

    (-2.00) – (-1.10)

    ลดค่อนข้างมาก

    น้อยกว่า (– 2.00)

    ลดมาก

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.