สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๔ - ๑๐ มี.ค ๖๐

 13 มี.ค. 2560 10:14 น. | อ่าน 2458
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

  1. บทสรุปผู้บริหาร
          ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกมีความถี่ลดลงร้อยละ ๑๘ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบมีความถี่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๑ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว 
          ในสัปดาห์นี้ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ คือ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (ตรวจพบ CCTV โรงเรียนใต้ระบบไม่ทำงาน และ ภตช. สุ่มตรวจกล้องซีซีทีวี สพฐ. ติดตั้งไม่ครบ – ผิดสเป๊ก – เชื่อมต่อระบบไม่ได้อื้อ), ประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) คนร้ายยิง ๓ นัดดับ ผบ.หมู่ นปพ.ยะลา กลางสะพาน คาดสร้างสถานการณ์, ๒) ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่ฯ ปัตตานี บาดเจ็บ ขณะกำลังขี่ จยย. กลับบ้าน, ๓) ๔ คนร้าย ทำทีเป็นลูกค้า กระหน่ำยิง อส. ดับหน้าร้านชำ และ ๔) ๒ คนร้าย ปาไปป์บอมบ์ใส่ ร.ต.ท.หนองจิก โดดหนีรอดหวุดหวิด), ประเด็นการเยียวยา (เครือข่ายชาวพุทธ ร้อง ๗ ข้อ เยียวยา-ดูแลความปลอดภัยชายแดนใต้), ประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ ได้แก่ ๑) พบศพชายไทยมุสลิมถูกแทงดับ ในสวนยางพารา และ ๒) คนร้ายยิง นายก อบต.ยะลา ดับ)
          ในส่วนของประเด็นเชิงบวก คือ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ ๑) รับมอบตัวเพิ่มอีก ๓ คน ผู้เห็นต่างชายแดนใต้ หลังใช้ชีวิตหลบๆซ่อนๆ, ๒) ยะลาเข้มความปลอดภัย รับ พล.อ.อุดมเดช ลงพื้นที่, และ ๓) ‘บิ๊กเจี๊ยบ’ กำชับ จนท.เข้มดูแลปลอดภัยประชาชนชายแดนใต้, ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ได้แก่ ๑) เจะอามิง มอง เซฟตี้โซน ๕ อำเภอใต้เป็นเรื่องดี, ๒) มาราปาตานี ปัดเอี่ยวยิง ที่รือเสาะ, ๓) อักษรา เตรียมเรียกสื่อทำความเข้าใจ และ ๔) สมช. ยันได้ข้อสรุปเซฟตี้โซนแล้ว, ประเด็นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ ได้แก่ ๑) ขยาย ๔ เลน เชื่อมมาเลย์ นาทวี-ด่านประกอบ, ๒) ทุ่ม ๓.๖ หมื่นล้านพัฒนาสนามบินภูธร, ๓) บิ๊กโด่งเปิดตลาดวิถีไทยชายแดนใต้ขายสินค้าจากผู้ได้รับผลกระทบเหตุป่วนใต้, และ ๔) รัฐบาลลุยพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่, ประเด็นยาเสพติด (รวบแก๊งค้ายาเครือข่ายไซยซะนะ ขณะลอบขนลงใต้ – ยึดกว่า ๕๐ ล้านบาท), ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (ยะลาเปิดเบิกฟ้าลาบู – สู่อาเซียนแหล่งเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - สังคมพหุวัฒนธรรม), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (ภาค ๔ ถอนฟ้องเอ็นจีโอสิทธิมนุษยชน), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ผู้หญิงชายแดนใต้ประกาศเจตนารมณ์ ร้องหยุดก่อเหตุรุนแรงต่อเด็กและสตรี), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (คืบยิง ๔ ศพที่รือเสาะ มีคนร้าย ๒ กลุ่ม ตั้งปมสังหารเหตุคนพื้นที่เชื่อถือ), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถึง ในหลวง ร.๙ ทรงให้ความสำคัญกับการปลูกป่าในใจคน, ประเด็นกีฬา (บลูเวฟสอนฟุตซอลเด็กใต้) และประเด็นการศึกษา (เปิดอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี)
          จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ ๑๖ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว เล็กน้อย

    ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ สรุปได้ดังนี้
          การแถลงข่าวถอนฟ้องดำเนินคดีกับนักสิทธิมนุษยชน ๓ คน ผู้จัดทำรายงานสถานการณ์การซ้อมทรมาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประเด็นที่มีการนำเสนอข่าว โดยสื่อมวลชนระหว่างประเทศและอาเซียนอย่างกว้างขวาง มีเนื้อหาในเชิงบวก โดยรายงานข่าวทุกชิ้น อ้างคำแถลงของผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสำนักงานสิทธิมนุษยชน ที่แสดงความชื่นชมกองทัพบกไทย ที่ตัดสินใจยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทและความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ กับนักสิทธิมนุษยชน ๓ คน
          นอกจากสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียแล้ว องค์การสิทธิมนุษยชนสากล (Amnasty International) ก็ออกแถลงการณ์ชื่นชมกองทัพบก พร้อมทั้งชื่นชมว่าเป็นพัฒนาการด้านบวก ในด้านสิทธิมนุษยชนของไทย
          ส่วนประเด็นข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับ จชต. เป็นประเด็นเกี่ยวการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์อาสาสมัครทหารพราน เข้าใจผิดยิงปืนใส่ตำรวจและอาสาสมัคร ขณะไล่ตามจับกุมผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด
          ดอน ปาทาน อดีตผู้สื่อข่าวที่ผันไปเปิดบริษัททำธุรกิจที่ปรึกษาด้านความมั่นคง เขียนบทความเผยแพร่ใน Anadolu Agency สื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในตุรกี เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ภายใต้หัวเรื่อง “Ground rules dictate conflict in Thailand’s south” หรือกฏของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เป็นตัวชี้นำความขัดแย้ง ในพื้นที่ จชต. มีเนื้อหาบางตอนแก้ตัวให้ขบวนการบีอาร์เอ็น โดยอ้างความเห็นของผู้ปฏิบัติงานของบีอาร์เอ็น บอกว่า พวกเขาไม่มีนโยบายทำร้ายพลเรือนผู้บริสุทธิ์ แต่ก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ที่จะไม่ให้เกิดความเสียหายข้างเคียง หรือลูกหลง (collateral damage)

    ๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐
          ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

          ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -2.406ln(x) + 22.258) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๘ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.6935ln(x) + 1.1671) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๑ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว

          ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
                เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

    วัน/เดือน/ปี

    จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

    จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

      ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2) 

    2017-02-25

    24

    3

     8.00

    2017-02-26

    17

    2

     8.50

    2017-02-27

    20

    1

     20.00

    2017-02-28

    16

    0

     16.00

    2017-03-01

    19

    1

     19.00

    2017-03-02

    20

    6

     3.33

    2017-03-03

    22

    8

     2.75

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

     11.08

    2017-03-04

    19

    6

     3.17

    2017-03-05

    15

    7

     2.14

    2017-03-06

    9

    3

     3.00

    2017-03-07

    22

    12

     1.83

    2017-03-08

    23

    4

     5.75

    2017-03-09

    18

    5

     3.60

    2017-03-10

    7

    1

     7.00

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

     3.78

    หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย


    ๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐
          ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

          ในช่วงวันที่ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.138ln(x) + 0.7517) ในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลาง ถึงปลายสัปดาห์ มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๖๒ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ จำนวน ๑ ข่าว จากที่ไม่ปรากฎภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) เจะอามิง มอง เซฟตี้โซน ๕ อำเภอใต้เป็นเรื่องดี, ๒) มาราปาตานี ปัดเอี่ยวยิง ที่รือเสาะ, ๓) อักษรา เตรียมเรียกสื่อทำความเข้าใจ และ ๔) สมช. ยันได้ข้อสรุปเซฟตี้โซนแล้ว ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ อย่าให้พูดคุยสันติภาพ เพิ่มความเลวร้ายที่ปลายด้ามขวาน

          ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

          ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐  ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันมีแนวโน้มลดลง (y = -0.539ln(x) + 2.6833) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๗๔ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) คนร้ายยิง ๓ นัดดับ ผบ.หมู่ นปพ.ยะลา กลางสะพาน คาดสร้างสถานการณ์, ๒) ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่ฯ ปัตตานี บาดเจ็บ ขณะกำลังขี่ จยย. กลับบ้าน, ๓) ๔ คนร้ายทำทีเป็นลูกค้า กระหน่ำยิง อส. ดับหน้าร้านชำ และ ๔) ๒ คนร้ายปาไปป์บอมบ์ใส่ ร.ต.ท.หนองจิก โดดหนีรอดหวุดหวิด เป็นต้น

          ๓.๓ ประเด็นการเมือง

          ในช่วงวันที่ – ๑๐ มี.ค.๖๐  ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างที่ อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว มีจำนวนข่าวลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๗ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.3292ln(x) - 0.2352) กล่าวคือ ในสัปดาห์นี้มีข่าวเชิงลบ จำนวน ๕ ข่าว จากที่ไม่มีข่าวเชิงลบเลย ในสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมือง ได้แก่ ๑)  “ประวิตร” ยันไม่ใช้ ม.๔๔ แก้ไฟใต้ , และ ๒) รัฐบาลชี้แก้ปัญหาชายแดนใต้ต้องทำหลายมิติ เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ๑) ถอดรหัสกระบวนการมีส่วนร่วมปักษ์ใต้เหลว (อาจ) เพราะรัฐไม่จริงใจ และ  ๒) โพลเผยคนแนะแก้ปัญหาใต้ต้องจับหัวหน้า-ทลายกลุ่มโจร

          ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

          ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐  ข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.664ln(x) + 3.9814) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๖๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ จำนวน ๒ ข่าว จากที่ไม่มีภาพข่าวเชิงลบเลยในสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ฯ ได้แก่ ๑) รับมอบตัวเพิ่มอีก ๓ คน ผู้เห็นต่างชายแดนใต้ หลังใช้ชีวิตหลบๆซ่อนๆ, ๒) ยะลาเข้มความปลอดภัย รับ พล.อ.อุดมเดช ลงพื้นที่, ๓) ‘บิ๊กเจี๊ยบ’ กำชับ จนท.เข้มดูแลปลอดภัยประชาชนชายแดนใต้ เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ฟังจากปาก ตร.นราฯ คดีทหารพรานเข้าใจผิดถล่มรถ แสดงบัตรแล้วยังยิง – เตะหน้า เป็นต้น

         ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

          ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐  ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.1332ln(x) + 2.9031) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๘ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) ในสัปดาห์นี้มีข่าวเชิงลบ จำนวน ๑ ข่าว จากที่ไม่มีข่าวเชิงลบเลย ในสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) ขยาย ๔ เลน เชื่อมมาเลย์ นาทวี-ด่านประกอบ, ๒) ทุ่ม ๓.๖ หมื่นล้านพัฒนาสนามบินภูธร, ๓) บิ๊กโด่ง เปิดตลาดวิถีไทยชายแดนใต้ขายสินค้าจากผู้ได้รับผลกระทบเหตุป่วนใต้, และ ๔) รัฐบาลลุยพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ผู้ส่งออกทุบราคายางอ้างจีนกดซื้อชาวสวน - สหกรณ์ จี้รัฐงัด กม. สกัดพ่อค้าป่วนตลาด เป็นต้น​

          ๓.๖ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
                ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
          ๓.๗ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
                ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
          ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
                ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต. ได้แก่ ตรวจพบ CCTV โรงเรียนใต้ระบบไม่ทำงาน และ ภตช.สุ่มตรวจกล้องซีซีทีวี สพฐ. ติดตั้งไม่ครบ – ผิดสเป๊ก - เชื่อมต่อระบบไม่ได้อื้อ
          ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย

                ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

    ๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
          ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

    ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ สรุปได้ดังนี้
    1. 
    ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. ได้แก่ ตรวจพบ CCTV โรงเรียนใต้ระบบไม่ทำงาน และ ภตช.สุ่มตรวจกล้องซีซีทีวี สพฐ. ติดตั้งไม่ครบ – ผิดสเป๊ก – เชื่อมต่อระบบไม่ได้อื้อ
    2. 
    ประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) คนร้ายยิง ๓ นัดดับ ผบ.หมู่ นปพ.ยะลา กลางสะพาน คาดสร้างสถานการณ์, ๒) ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่ฯ ปัตตานี บาดเจ็บ ขณะกำลังขี่ จยย. กลับบ้าน, ๓) ๔ คนร้ายทำทีเป็นลูกค้า กระหน่ำยิง อส. ดับหน้าร้านชำ และ ๔) ๒ คนร้ายปาไปป์บอมบ์ใส่ ร.ต.ท.หนองจิก โดดหนีรอดหวุดหวิด
    3. 
    ประเด็นการเยียวยา ได้แก่ เครือข่ายชาวพุทธ ร้อง ๗ ข้อ เยียวยา-ดูแลความปลอดภัยชายแดนใต้
    4. 
    ประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ ได้แก่ ๑) พบศพชายไทยมุสลิมถูกแทงดับ ในสวนยางพารา และ ๒) คนร้ายยิง นายก อบต.ยะลา ดับ
    ในส่วนของประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้
    1. 
    ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ได้แก่ ๑) รับมอบตัวเพิ่มอีก ๓ คน ผู้เห็นต่างชายแดนใต้ หลังใช้ชีวิต หลบๆซ่อนๆ, ๒) ยะลาเข้มความปลอดภัย รับ พล.อ.อุดมเดช ลงพื้นที่, และ ๓) ‘บิ๊กเจี๊ยบ’ กำชับ จนท.เข้มดูแลปลอดภัยประชาชนชายแดนใต้
    2. 
    ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ได้แก่ ๑) เจะอามิง มอง เซฟตี้โซน ๕ อำเภอใต้เป็นเรื่องดี, ๒) มาราปาตานี ปัดเอี่ยวยิง ที่รือเสาะ, ๓) อักษร เตรียมเรียกสื่อทำความเข้าใจ และ ๔) สมช. ยันได้ข้อสรุปเซฟตี้โซนแล้ว
    3. 
    ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ได้แก่ ๑) เจะอามิง มอง เซฟตี้โซน ๕ อำเภอใต้เป็นเรื่องดี, ๒) มาราปาตานี ปัดเอี่ยวยิง ที่รือเสาะ, ๓) อักษร เตรียมเรียกสื่อทำความเข้าใจ และ ๔) สมช. ยันได้ข้อสรุปเซฟตี้โซนแล้ว
    4. 
    ประเด็นยาเสพติด ได้แก่ รวบแก๊งค้ายาเครือข่ายไซยซะนะ ขณะลอบขนลงใต้ – ยึดกว่า ๕๐ ล้านบาท
    5. 
    ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ได้แก่ ยะลาเปิดเบิกฟ้าลาบู – สู่อาเซียนแหล่งเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - สังคมพหุวัฒนธรรม
    6. 
    ประเด็นสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ภาค ๔ ถอนฟ้องเอ็นจีโอสิทธิมนุษยชน
    7. 
    ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน ได้แก่ ผู้หญิงชายแดนใต้ประกาศเจตนารมณ์ ร้องหยุดก่อเหตุรุนแรงต่อเด็กและสตรี
    8. 
    ประเด็นกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ คืบยิง ๔ ศพที่รือเสาะ มีคนร้าย ๒ กลุ่ม ตั้งปมสังหารเหตุคนพื้นที่เชื่อถือ
    9. 
    ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ได้แก่ สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถึงในหลวง ร.๙ ทรงให้ความสำคัญกับการปลูกป่าในใจคน
    10. 
    ประเด็นกีฬา ได้แก่ บลูเวฟสอนฟุตซอลเด็กใต้
    11. 
    ประเด็นการศึกษา ได้แก่ เปิดอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี

          ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

          จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วน และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค. ๖๐ พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง  (y = -0.482ln(x) + 2.9273) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๖ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ ก.พ. – ๓ มี.ค.๖๐) จากระดับผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

    ๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๔ – ๑๐ มี.ค.๖๐
          การแถลงข่าวถอนฟ้องดำเนินคดีกับนักสิทธิมนุษยชน ๓ คน ผู้จัดทำรายงานสถานการณ์การซ้อมทรมาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประเด็นที่มีการนำเสนอข่าว โดยสื่อมวลชนระหว่างประเทศและอาเซียนอย่างกว้างขวาง มีเนื้อหาในเชิงบวก โดยรายงานข่าวทุกชิ้น อ้างคำแถลงของผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสำนักงานสิทธิมนุษยชน ที่แสดงความชื่นชมกองทัพบกไทย ที่ตัดสินใจยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทและความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ กับนักสิทธิมนุษยชน ๓ คน
          นอกจากสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแล้ว องค์การสิทธิมนุษยชนสากล (Amnasty International) ก็ออกแถลงการณ์ชื่นชมกองทัพบก พร้อมทั้งชื่นชมว่า เป็นพัฒนาการด้านบวก ในด้านสิทธิมนุษยชนของไทย
          ส่วนประเด็นข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับ จชต. เป็นประเด็นเกี่ยวการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์อาสาสมัครทหารพราน เข้าใจผิดยิงปืนใส่ตำรวจและอาสาสมัคร ขณะไล่ตามจับกุมผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด
          ดอน ปาทาน อดีตผู้สื่อข่าวที่ผันไปเปิดบริษัททำธุรกิจที่ปรึกษาด้านความมั่นคง เขียนบทความเผยแพร่ใน Anadolu Agency สื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในตุรกี เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ภายใต้หัวเรื่อง “Ground rules dictate conflict in Thailand’s south” หรือกฏของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เป็นตัวชี้นำความขัดแย้งในพื้นที่ จชต. มีเนื้อหาบางตอนแก้ตัวให้ขบวนการบีอาร์เอ็น โดยอ้างความเห็นของผู้ปฏิบัติงานของบีอาร์เอ็น บอกว่า พวกเขาไม่มีนโยบายทำร้ายพลเรือนผู้บริสุทธิ์ แต่ก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ที่จะไม่ให้เกิดความเสียหายข้างเคียง หรือลูกหลง (collateral damage)
          ๕.๑ สำนักข่าว AFP , the malaymailonline และ benarnews.org รายงานข่าว กอ.รมน.ภาค ๔ แถลงข่าวถอนฟ้องคดีที่กล่าวหา นักสิทธิมนุษยชน ๓ คน ว่า มีพฤติการณ์หมิ่นประมาทและกระทำความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ โดยสำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า กองทัพบกไทย แถลงว่า จะถอนฟ้องนักสิทธิมนุษยชน ๓ คน ที่กล่าวหาว่า กำลังพลของกองทัพ มีพฤติการณ์ซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดีความมั่นคง พร้อมทั้งมีข้อสังเกตุ การถอนฟ้องคดีโดยกองทัพบก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แทบไม่เคยเกิดขึ้นเลย

    (Thailand’s army said today it would drop a defamation case against three human rights workers who alleged that troops tortured suspected insurgents, a rare climbdown by a military notorious for taking critics to court. )

          รายงานข่าวทุกสำนักล้วนแต่อ้างแถลงการณ์ ของสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่แสดงความชื่นชมกองทัพบกพร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการไทยถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทกับนักสิทธิมนุษยชน ในคดีอื่นๆ ด้วย
          Laurent Meillan รักษาการหัวหน้าสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาค เรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการไปอีกขั้น คือ ทำหน้าที่ปกป้องนักสิทธิมนุษยชน ที่ทำหน้าที่เฝ้าติดตามและจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน

    (The UN’s rights office in Southeast Asia applauded the move and urged authorities to drop similar charges against other human rights defenders. “Today’s developments are very positive,” said Laurent Meillan, the UN Human Rights Office’s acting regional representative, urging Thailand “to take additional steps... to protect activists carrying out human rights reporting and monitoring.”)

          ในแถลงการณ์ของสำนักงานสิทธิมนุษยชนฯ แสดงท่าทีสนับสนุนแผนการที่ตกลงกันระหว่างตัวแทน กอ.รมน. ภาค ๔ กับตัวแทนองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ให้มีการดำเนินการจัดตั้งกลไกการทำงานร่วมกัน ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน จชต. และร่วมกันจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ทั้งนี้สำนักงานสิทธิมนุษยชนฯ พร้อมให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และคำปรึกษาหารือ
          คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งทำหน้าที่ติดตามการดำเนินการ ตามข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จะประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ในการประชุม ที่นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ รหะว่างวันที่ ๑๓ - ๑๔ มีนาคม

    ("Our Office supports today's plans to establish mechanisms whereby the military, activists and other concerned stakeholders will come together to review and investigate allegations of human rights violations in the south," he added. "We stand ready to provide technical advice in this process." The UN Human Rights Committee, which monitors implementation by States of one of the main international human rights treaties, the International Covenant on Civil and Political Rights, will review Thailand in Geneva on 13-14 March.)

          ทางด้านองค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnasty International) ออกแถลงการณ์ชื่นชมทางการไทยว่า เป็นพัฒนาทางการทางบวก และ โจเซฟ เบเนดิกต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวชื่นชม การตัดสินใจของหน่วยงานของกองทัพไทย ในการถอนคำร้องทุกข์ ที่มีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่กล้าหาญทั้งสามคน และหวังว่าจะมีการถอนคำร้องทุกข์และยกเลิกข้อกล่าวหาต่างๆ ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ของพวกเขาอย่างสงบด้วยเช่นกัน
    ที่มาข้อมูล ; http://www.themalaymailonline.com/world/article/thai-army-to-drop-charges-over-torture-report
    http://www.benarnews.org/english/news/thai/charges-dropped-03072017165410.html
    http://bangkok.ohchr.org/news/press/thaiHRDs.aspx​
    https://www.amnesty.or.th/news/press/971​

          ๕. benarnews.org และ สำนักข่าว bernama รายงานเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ว่า เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทหารพราน ฉก.นราธิวาส ๔๘๐๘ ใช้อาวุธปืนยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส ที่กำลังปฎิบัติหน้าที่ไล่ล่าผู้ต้องหาคดียาเสพติด เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เสียชีวิต ๑ คน และตำรวจบาดเจ็บ ๒ นาย โดยมีการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ทหารพรานว่า การปะทะครั้งนี้ เกิดจากความเข้าใจผิด เพราะกำลังทหารพรานเข้าใจว่า ตำรวจชุดดังกล่าว เป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่กำลังก่อเหตุ จึงใช้อาวุธปืนยิงเพื่อสกัด
          ด้าน พ.อ.ไพศาล หนูสังข์ รอง ผบ.ฉก.นราธิวาส กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า การปะทะเป็นความเข้าใจผิด โดยเจ้าหน้าที่ทหาร จะประสานช่วยเหลือครอบครัวของเจ้าหน้าที่ อส.ที่เสียชีวิต และตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บเต็มที่ และนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้น มาเป็นบทเรียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะนี้ซ้ำอีก
          “จะให้การช่วยเหลือผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอย่างเต็มที่ ตามสิทธิ์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ จนเกิดความผิดพลาดและเข้าใจผิด ส่วนการป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำ จะต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เข้าไปปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบเป็นการล่วงหน้า เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น” พ.อ.ไพศาล กล่าว
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/thai/news/TH-deepsouth-killing-03072017180710.html
    http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1335740

          ๕. สำนักข่าว benarnews รายงานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ว่า พลเอก ปราการ ชลยุทธ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แถลงว่า จะมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในชุมชนต่างๆ ให้เข้มแข็งขึ้น โดยการเพิ่มชุดคุ้มครองตำบล (ชคต.) ที่เป็นอาสาสมัคร เพิ่มขึ้นอีก ๑๑๐ ชุด จากที่มีอยู่แล้ว ๑๐๙ ชุด เพื่อให้คุ้มครองประชาชนได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จะเพิ่มอีกประมาณ ๖๐ ชคต. กระจายตามชุมชนต่างๆ ใน ๓ จังหวัด
          ทางด้านนางแวมีเนาะ สาเมาะ ชาวจังหวัดยะลา กล่าวว่า ตนเองมีความไว้วางใจ ชุดคุ้มครองตำบล เพราะชุดคุ้มครองตำบล เป็นลูกหลานคนในพื้นที่ "ทุกครั้งที่เห็นกำลังชุดคุ้มครองตำบล ก็จะอุ่นใจกว่าเห็นเจ้าหน้าที่ชุดดำ เพราะชุดคุ้มครองตำบลส่วนใหญ่มาจากลูกหลานคนพื้นที่จริงๆ แต่เจ้าหน้าที่ชุดดำ จะมาจากภาคใต้ตอนบน ถือว่าไม่ใช่คนพื้นที่ เห็นด้วยที่จะเพิ่มชุดคุ้มครอง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้พวกเรา" นางแวมีเนาะ กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/thai/news/TH-deepsouth-troops-03082017160608.html

          ๕. ดอน ปาทาน อดีตผู้สื่อข่าว The Nation ซึ่งผันตัวเองไปเป็นนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง เขียนบทความใน Anado Agency สื่อตุรกี วิเคราะห์เหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ คนร้ายใช้อาวุธปืนรุมยิงรถยนต์ ของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ที่ อ.รือเสาะ นราธิวาส ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๔ คนรวมทั้งเด็กชายวัย ๘ ปี เป็นเหตุให้มีการประณามผู้ก่อเหตุอย่างกว้างขวาง
          ดอน บรรยายว่า แม้ตำรวจจะยังไม่ตัดสมมติฐานเหตุรุมยิงครั้งนี้ว่า อาจจะเกิดจากความขัดแย้งส่วนตัว แต่พฤติการณ์การก่อเหตุก็บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มบีอาร์เอ็น
          ดอน พูดถึงการหาข้อมูลเกี่ยวกับความคิดของกลุ่มผู้นำบีอาร์เอ็น เป็นความยากลำบาก เนื่องจากบีอาร์เอ็น ไม่มีการจัดตั้งปีกองค์กรทางการเมืองไว้ เพื่อสื่อสารกับภายนอก แต่ดอน ก็อ้างข้อมูลจากระดับปฏิบัติการของบีอาร์เอ็น ที่บอกว่า พวกเขาไม่มีความคิดที่จะโจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามพวกเขาบอกว่า ความผิดพลาด และลูกหลงต่อผู้บริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

    (Information on the thinking of the BRN leadership is scarce as the movement has no identifiable political wing but operatives on the ground said they are not supposed to attack innocent civilians.
    Mistakes, however, have been made and collateral damage is sometimes unavoidable, they said.)

          ดอน อธิบายความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จชต.ว่า หลายต่อหลายครั้ง เป็นการจัดการตอบโต้ล้างแค้นกันเอง ระหว่างฝ่ายขบวนการกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใต้กติกาที่ไม่การเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งระบุว่า เป็นความยากลำบากของเจ้าหน้าที่รัฐไทย ในการอธิบายสาเหตุของเหตุรุนแรงต่างๆ ว่าให้ข่าวอย่างไร จะปั่นกระแสว่า เป็นฝีมือของพวกขบวนการ หรือปล่อยให้คลุมเครือ ไม่แยกแยะให้เห็นว่าคนที่ได้รับผลกระทบ เป็นพวกถูกลูกหลง หรือเป็นเป้าหมายจริงๆ สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ กับคนเชื้อสายมลายูมุสลิม ในพื้นที่ยิ่งถ่างกว้างขึ้น

    (The harder the authorities spin their lines -- or blur the line between what constitutes collateral damage and intentional killings -- the wider the trust gap between the authorities and the local Malay Muslim population.)
    ที่มาข้อมูล ; http://aa.com.tr/en/analysis-news/ground-rules-dictate-conflict-in-thailand-s-south/768109​

          ๕. New Straits Times รายงานเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ว่า ดาโต๊ะสรีอัซลัน มาน มุขมนตรีแห่งรัฐเปอร์ลิส ได้ประกาศเปิดโครงการพัฒนาสถานีขนถ่ายตู้สินค้าปาดังเบซาร์ เพื่อเป็นประตูการส่งออกสินค้าจากภาคใต้ของไทย ตามแผนการปรับปรุงเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ที่ใช้เงินลงทุน ๒๓.๕ ล้านริงกิต มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ จะทำให้ศักยภาพในการรองรับตู้คอนเทนเนอร์ ที่ปาดังเบซาร์ เพิ่มขึ้นจาก ๑๒๐,๐๐๐ ตู้คอนเทนเนอร์ เป็น ๑๕๐,๐๐๐ ตู้คอนเทนเนอร์ ต่อปี

    ขณะนี้สินค้าจากภาคใต้ของไทยร้อยละ ๖๗ ส่งออกผ่านท่าเรือ ในเขตเศรษฐกิจภาคเหนือ ของมาเลเซีย
    (Perlis Menteri Besar Datuk Seri Azlan Man yesterday officiated the Logistics Integration Programme and Padang Besar KTMB Cargo Terminal Facility Upgrading Project which is set to strengthen Padang Besar’s position as the main gateway for southern Thailand’s growing export market. Azlan, in lauding the federal government’s RM23.5 million funding for the project, which is spearheaded by the Northern Corridor Implementation Authority (NCIA), said the project would significantly increase Padang Besar’s KTMB cargo terminal capacity upon its completion by end of next March.
    He said with the upgrading works, the terminal would see a significant jump in its cargo handling capacity from 120,000 TEUs (Twenty-Foot Equivalent Unit) annually to over 150,000 TEUs annually.
    “Padang Besar is one of the main gateways for southern Thai exports with 67 per cent going through the Northern Corridor and there is a huge potential of tapping its total 400,000 TEUs cargo movement annually.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2017/03/219437/padang-besar-tap-south-thailands-export-market

    เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

    ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

    ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

    มากกว่า 2.00

    เพิ่มมาก

    1.10 – 2.00

    เพิ่มค่อนข้างมาก

    0.60 – 1.00

    เพิ่มในระดับหนึ่ง

    0.10 – 0.50

    เพิ่มเล็กน้อย

    0.02 – 0.09

    เพิ่มเพียงเล็กน้อย

    0.00 – 0.01

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.01) – 0.00

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.09) – (-0.02)

    ลดเพียงเล็กน้อย

    (-0.50) – (-0.10)

    ลดเล็กน้อย

    (-1.00) – (-0.60)

    ลดในระดับหนึ่ง

    (-2.00) – (-1.10)

    ลดค่อนข้างมาก

    น้อยกว่า (– 2.00)

    ลดมาก

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.