สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๗ - ๑๓ ม.ค. ๖๐

 19 ม.ค. 2560 10:09 น. | อ่าน 2823
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

  1. บทสรุปผู้บริหาร
          ในช่วงวันที่ ๗ ม.ค. – ๑๓ ม.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกมีความถี่ค่อนข้างคงที่ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบมีความถี่ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐) ร้อยละ ๔๔
          ในสัปดาห์นี้ ไม่มีประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ
          ในส่วนของประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้ ประเด็นเศรษฐกิจฯ (กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม เร่งขยาย ๗ สนามบินภูธร รับผู้โดยสารเพิ่ม), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (น้ำท่วมภาคใต้ ปรากฏการณ์ธารน้ำใจ สู่การคืนจอ), ประเด็นการเยียวยา (ทำบุญใหญ่ครบรอบ ๑๐ ปี การจากไปของครูจูหลิง), ประเด็นยาเสพติด (รวบ ๒ ผัวเมีย ขนใบกระท่อมผ่านเบตง หนัก ๑๕.๕ กิโลกรัม), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (อันวาร์ หะยีเต๊ะ นักกิจกรรมด้านสันติภาพชาย แดนใต้ ที่ถูกจำคุกคดีอั้งยี่ ซ่องโจรตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ได้รับอภัยโทษพร้อมนักโทษชั้นดีอื่นๆ รวม ๙๐ คน), ประเด็นกีฬา (เช็กผลจับสลากไทยลีก ๔ นัดเปิดฤดูกาล ๒๐๑๗), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (มทภ.๔ ลงพื้นที่เบตง เช็คความพร้อม CCTV เฝ้าระวังเหตุรุนแรง),  ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (๑) พสกนิกรปีติ-ทรงห่วงใย น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ บทพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล  และ ๒) ผบ.ทบ.เร่งวางแผนแก้น้ำท่วมระยะยาวภาคใต้), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (ดาบตำรวจระดับด็อกเตอร์!! เชษฐา หรนจันทร์ ผู้ทำงานสนองพระราชดำริ)
          จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐)  เล็กน้อย
          ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐
          ประเด็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้ชาวอินโดนีเซีย ๘ คน เดินทางเข้าประเทศและส่งตัวไปที่ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ เนื่องจากพบภาพเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าสาธารณรัฐอิสลามหรือ ISIS ในโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้เดินทางมาจากปอเนาะแห่งหนึ่งบนเกาะสุมาตราตะวันตก ไปถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ ๓ มกราคม ก่อนเดินทางไปจังหวัดปัตตานีในวันที่ ๗ มกราคม ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่มีการรายงานผ่านสื่อในมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
          Benarnews.org สื่อที่ได้การสนับสนุนเงินทุนดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน รายงานข่าวสรุป รายงานประจำปีขององค์กรสิทธิมนุษยชนสากล (Human Rights Watch) ประจำปี ๒๕๕๙ ระบุว่า รัฐบาลไทยมีการจับกุมและละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถนำประเทศกลับสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ภายในปี ๒๕๕๙
          Benarnews.org ยังมีรายงานข่าว ท่าทีของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้คำแนะนำแก่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขในเรื่องการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยว่า อาจจะกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเป็นสถานที่ควรละเว้น เช่น โรงเรียน แทนการกำหนดเป็นพื้นที่เป็นระดับตำบลหรืออำเภอก็ได้

    ๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐
          ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.193ln(x) + 2.1334) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๔ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐)

          ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
          เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

    วัน/เดือน/ปี

    จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

    จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

    ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

    2016-12-31

    15

    1

    15.00

    2017-01-01

    26

    2

    13.00

    2017-01-02

    27

    1

    27.00

    2017-01-03

    18

    3

    6.00

    2017-01-04

    20

    5

    4.00

    2017-01-05

    16

    3

    5.33

    2017-01-06

    20

    1

    20.00

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

    12.90

    2017-01-07

    30

    2

    15.00

    2017-01-08

    26

    1

    26.00

    2017-01-09

    14

    0

    14.00

    2017-01-10

    19

    3

    6.33

    2017-01-11

    19

    0

    19.00

    2017-01-12

    17

    0

    17.00

    2017-01-13

    19

    3

    6.33

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

    14.81

    หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

    ๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐
          ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่ปรากฏข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (ไม่มีภาพข่าวในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุขมาเป็นเวลากว่า ๗ สัปดาห์แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๑๓ ม.ค.๖๐))
          ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่มีข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันในสัปดาห์นี้ (ไม่มีภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันมาเป็นเวลา ๒ สัปดาห์แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๑๓ ม.ค.๖๐))
          ๓.๓ ประเด็นการเมือง

           ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.0834ln(x) - 0.0072) อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว มีจำนวนข่าวเท่ากับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐) (สัปดาห์ที่แล้ว และสัปดาห์นี้ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองฯ สัปดาห์ละ ๑ ข่าว) ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. ไม่มีภาพข่าวเชิงลบมา ๓ สัปดาห์แล้ว (๒๔ ธ.ค.๕๙ – ๑๓ ม.ค.๖๐) ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ได้แก่ การต่อสู้ทางความคิดใน จชต. รัฐบาลกำลังได้เปรียบจากกำลังประชาชนที่กำลังโตวันโตคืน เป็นต้น

          ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่ปรากฏภาพข่าวทั้งเชิงบวก และเชิงลบในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน โดยไม่ปรากฏภาพข่าวเชิงลบในประเด็น รปภ.ฯ มากว่า ๒ สัปดาห์แล้ว   (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๑๓ ม.ค.๕๙)

          ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.2533ln(x) + 2.187) อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว มีจำนวนใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.0337ln(x) + 0.3679) อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว มีจำนวนใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม เร่งขยาย ๗ สนามบินภูธร รับผู้โดยสารเพิ่ม เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ น้ำท่วมใต้ กระทบ เศรษฐกิจ ๑.๕ หมื่นล้าน ทุกภาคส่วนเร่งหามาตรการช่วยเหลือ เป็นต้น​

          ๓.๖ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
          ๓.๗ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
          ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
          ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
          ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

    ๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
          ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

    ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐ ไม่มีประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ
    ในส่วนของประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้
    1. ประเด็นเศรษฐกิจฯ ได้แก่ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม เร่งขยาย ๗ สนามบินภูธร รับผู้โดยสารเพิ่ม
    2. ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน ได้แก่ น้ำท่วมภาคใต้ ปรากฏการณ์ธารน้ำใจ สู่การคืนจอ
    3. ประเด็นการเยียวยา ได้แก่ ทำบุญใหญ่ครบรอบ ๑๐ ปี การจากไปของครูจูหลิง
    4. ประเด็นยาเสพติด ได้แก่ รวบ ๒ ผัวเมีย ขนใบกระท่อมผ่านเบตง หนัก ๑๕.๕ กิโลกรัม
    5. ประเด็นกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ อันวาร์ หะยีเต๊ะ นักกิจกรรมด้านสันติภาพชาย แดนใต้ ที่ถูกจำคุกคดีอั้งยี่ ซ่องโจรตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ได้รับอภัยโทษพร้อมนักโทษชั้นดีอื่นๆ รวม ๙๐ คน
    6. ประเด็นกีฬา ได้แก่ เช็กผลจับสลากไทยลีก ๔ นัดเปิดฤดูกาล ๒๐๑๗
    7. ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. ได้แก่ มทภ.๔ ลงพื้นที่เบตง เช็คความพร้อม CCTV เฝ้าระวังเหตุรุนแรง
    8. ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ ๑) พสกนิกรปีติ-ทรงห่วงใย น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ บทพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล  และ ๒) ผบ.ทบ.เร่งวางแผนแก้น้ำท่วมระยะยาวภาคใต้
    9. ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ได้แก่ ดาบตำรวจระดับด็อกเตอร์!! เชษฐา หรนจันทร์ ผู้ทำงานสนองพระราชดำริ

          ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

          จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐  พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง  (y = -0.01ln(x) + 2.6567) อย่างไรในมิติของค่าระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก ในสัปดาห์นี้จะมีค่าระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวกสูงกว่าสัปดาห์ที่แล้ว ร้อยละ ๑๑ สืบเนื่องจากการช่วยเหลือประชาชนของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาพข่าวความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในภาคอื่นๆ ของประเทศ ที่ส่งความช่วยเหลือเข้าสู่พื้นที่ประสบภัย  จากระดับผลกระทบฯ ดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว (๓๑ ธ.ค.๕๙ – ๖ ม.ค.๖๐) เล็กน้อย

    ๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ ม.ค.๖๐
          ประเด็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้ชาวอินโดนีเซีย ๘ คน เดินทางเข้าประเทศและส่งตัวไปที่ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ เนื่องจากพบภาพเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าสาธารณรัฐอิสลามหรือ ISIS ในโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้เดินทางมาจากปอเนาะแห่งหนึ่งบนเกาะสุมาตราตะวันตก ไปถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ ๓ มกราคม ก่อนเดินทางไปจังหวัดปัตตานีในวันที่ ๗ มกราคม ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่มีการรายงานผ่านสื่อในมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย Benarnews.org สื่อที่ได้การสนับสนุนเงินทุนดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน รายงานข่าวสรุป รายงานประจำปีขององค์กรสิทธิมนุษยชนสากล (Human Rights Watch) ประจำปี ๒๕๕๙ ระบุว่า รัฐบาลไทยมีการจับกุมและละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถนำประเทศกลับสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ภายในปี ๒๕๕๙
          Benarnews.org ยังมีรายงานข่าว ท่าทีของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้คำแนะนำแก่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขในเรื่องการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยว่า อาจจะกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเป็นสถานที่ควรละเว้น เช่น โรงเรียน แทนการกำหนดเป็นพื้นที่เป็นระดับตำบลหรืออำเภอก็ได้
          ๕.๑ สื่อสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รายงานข่าวเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ ไม่อนุญาตให้ชาวอินโดนีเซีย ๘ คนเดินทางเข้าประเทศและผลักดันทั้งหมดออกไปประเทศมาเลเซีย เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐
          ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้อายุระหว่าง ๑๖-๓๗ ปี เดินทางมาจากปอเนาะแห่งหนึ่งในเมืองปาดัง บนเกาะสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย โดยทางเครื่องบินถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ก่อนที่จะเดินทางต่อไปที่เมืองมะละกา และรัฐเปอร์ลิส หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจังหวัดปัตตานี ประเทศเทศไทย ในวันที่ ๗ มกราคม

          หนังสือพิมพ์ Straits Times ในสิงคโปร์ รายงานว่า ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ปฏิเสธการเข้าประเทศและถุกส่งตัวไปให้เจ้าหน้าที่มาเลเซียสอบสวนต่อ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม เพื่อสอบสวนหาข้อมูลว่าพวกเขาทำอะไรตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม (วันที่เดินทางเข้าปัตตานี)

    อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่สอบสวนของมาเลเซียพบว่า ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้ไม่มีความคิดอุดมการณ์เอนเอียงไปทาง ISIS ส่วนภาพถ่ายเกี่ยวกับกลุ่ม ISIS รวมทั้งภาพรองเท้าที่ประกอบระเบิด ที่พบในโทรศัพท์มือถือของหัวหน้ากลุ่มที่ใช้ชื่อย่อว่า  REH เจ้าตัวให้การว่าดาวน์โหลดจาก Whatapp และลืมลบทิ้ง

    (They left Padang in West Sumatra on Jan 3 and flew to Kuala Lumpur to preach in Bukit Jalil. (They left Padang in West Sumatra on Jan 3 and flew to Kuala Lumpur to preach in Bukit Jalil.
    Over the next two days, they travelled overland to mosques in Malacca and Perlis, before making their way to Pattani, a town in southern Thailand on Jan 7.
    "Then on Jan 10, they tried to enter Singapore, but they were denied entry and later handed over to Malaysia," said Gen Sam.
    Malaysian state news agency Bernama reported yesterday that the group was stopped by the Singapore authorities at 1.30am on Tuesday.
    The Straits Times understands that investigators are still trying to establish what the group was doing between Jan 7 and the day they arrived at Woodlands Checkpoint.
    According to Gen Sam, Malaysian investigators had concluded that the group of eight did not embrace ISIS ideology and REH had downloaded the illicit images into his smartphone from a WhatsApp group, which he has since left.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.straitstimes.com/singapore/eight-deported-indonesians-under-probe-for-terror-links
    http://www.malaysiakini.com/news/368989

                ๕.๑.๑ ทางด้าน Jakarta Post สื่ออินโดนีเซียรายงานว่า ต่อมาทางการมาเลเซียได้ส่งตัวชาวอินโดนีเซียทั้ง ๘ คนให้ทางการอินโดนีเซียสอบสวนต่อ พร้อมทั้งระบุว่า เจ้าหน้าที่มาเลเซียได้สรุปผลการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้มีความเชื่อและปฏิบัติตนตามแนวทางอิสลามกระแสหลัก ซึ่งปฏิเสธแนวคิดของ ISIS อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายอินโดนีเซีย (Densus 88) ก็ทำการสอบปากคำชาวอินโดนีเซียทั้ง ๘ คนเพื่มเติมโดยใช้เวลาสอบสวนประมาณ ๑ สัปดาห์

    (After an intensive examination, however, the Malaysian authorities made a preliminary conclusion that the eight people subscribed to the mainstream teachings of Islam that actually rejected IS ideology.
    The IS content on REH’s cell phone, according to the investigation by the Malaysian authorities, came from a WhatsApp group he had once joined. “REH said he had left the group but did not know that the pictures had not yet been deleted,” Sambudi said. Nevertheless, Densus 88 still questioned the eight deportees at the headquarters of the Riau Islands police’s mobile brigade (Brimob).
    They had a week to conduct the interrogations.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.thejakartapost.com/news/2017/01/12/indonesians-deported-from-malaysia-over-islamic-state-link.html

          ๕.๒ benarnews.org รายงานว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล หรือ Human Rights Watch เผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี ๒๕๕๙ ระบุว่า ประเทศไทยและมาเลเซีย มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น และล้มเหลวในการแปลงนโยบายการสร้างคุณค่าประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไปสู่การปฏิบัติจริง

    Governments from South to Southeast Asia last year behaved repressively or failed to do enough to translate rhetoric about democratic values and freedoms into real action, Human Rights Watch said in a scathing assessment in its World Report 2017.
    The 697-page report, released Thursday, assessed the state of human rights in more than 90 countries. It pointed to deepening repression in Malaysia and Thailand, and criticized Bangladesh, Indonesia and India – the world’s most populous democracy – for problems ranging from extrajudicial disappearances and killings, to restrictions on free speech, or not doing enough to defend minorities and secular thinkers from attacks or discrimination.
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/malaysian/human-rights-01132017155909.html​

                ๕.๒.๑ รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี ๒๕๕๙ ขององค์กรสิทธิมุษยชนสากล ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ตอนหนึ่ง Brad Adams ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ HRW ระบุว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยปี ๒๕๕๙ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่คณะผู้ปกครองทหารกระชับอำนาจเพิ่มขึ้นนำประเทศไปสู่การปกครองแบบเผด็จการ มากกว่านำประเทศกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
          Brad Adams ขยายความเพิ่มเติมว่า คณะผู้ปกครองทหารมีการดำเนินคดีลงโทษผู้วิจารณ์และมีความเห็นต่างทางการเมือง ห้ามการชุมนุมทางการเมืองอย่างสันติ เซ็นเซ่อร์สื่อมวลชน และกดดันควบคุมการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อรวมทั้งออนไลน์

    (“Thailand’s human rights crisis has worsened over the year as the military junta has tightened its grip on power and led the country deeper into dictatorship,” said Brad Adams, Asia director. “Rather than leading the country back to democratic rule, the junta has increasingly persecuted critics and dissenters, banned peaceful protests, censored the media, and suppressed speech in the press and online.”)

          นอกจากนี้เอกสารข่าวของ HRW ยังระบุว่า ไม่มีการดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังทหารอย่างไม่ถูกต้องกับผู้ชุมนุมทางการเมืองในปี ๒๕๕๓ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๙๐ คนบาดเจ็บอีกกว่า  ๒ พันคน รวมทั้งไม่มีการดำเนินคดีเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงที่กระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะเดียวกันฝ่ายติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนก็มีการกระทำละเมิดต่อพลเรือน ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่นกัน

    (No policy makers, commanders, or soldiers have been punished for wrongful use of force during the 2010 political confrontations in Bangkok, which left at least 90 dead and more than 2,000 injured. Nor have any security personnel been criminally prosecuted for human rights violations in the southern border provinces, where separatist insurgents have also committed numerous abuses against civilians in violation of international humanitarian law.)
    ที่มาข้อมูล ; https://www.hrw.org/news/2017/01/12/thailand-rights-crisis-deepens-under-dictatorship​

          ๕.๓ benarnews.org รายงาน ว่า พลเอกทวีป เนตรนิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติว่า พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำแนะนำแก่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขในเรื่องการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยว่า อาจจะกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเป็นสถานที่ควรละเว้น เช่น โรงเรียน แทนการกำหนดเป็นพื้นที่เป็นระดับตำบลหรืออำเภอก็ได้
          “พื้นที่ปลอดภัยไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ทั้งตำบลหรืออำเภอ อาจเป็นเพียงบางสถานที่ก็ได้ เช่น พื้นที่โรงเรียนต้องปลอดภัย นักเรียนหรือครูเดินทางไปโรงเรียนต้องปลอดภัย ตรงนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพื้นที่เซฟตี้โซนที่มีการพูดไว้ก่อนหน้านี้” พล.อ.ทวีป เนตรนิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้กล่าวแก่ผู้สื่อข่าว โดยอ้างถึงคำแนะนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายด้านความมั่นคง
          ทางด้านนายกัสตูรี มะโกตา ประธานพูโลหรือองค์กรปลดปล่อยสหปาตานี หนึ่งในสมาชิกองค์กรมาราปาตานี ที่เป็นคู่เจรจากับรัฐบาล ได้กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
          “ใช่ ผมเห็นด้วยว่า ระยะทางยังยาวไกลในการดำเนินการ ผมอยากให้เริ่มจากเป้าหมายอ่อนแอก่อน และผมยังมีความหวังอยู่” นายกัสตูรี กล่าวแก่เบนาร์นิวส์ทางเมสเสจ
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/thai/news/TH-zones-01122017140932.html​

    เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

    ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

    ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

    มากกว่า 2.00

    เพิ่มมาก

    1.10 – 2.00

    เพิ่มค่อนข้างมาก

    0.60 – 1.00

    เพิ่มในระดับหนึ่ง

    0.10 – 0.50

    เพิ่มเล็กน้อย

    0.02 – 0.09

    เพิ่มเพียงเล็กน้อย

    0.00 – 0.01

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.01) – 0.00

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.09) – (-0.02)

    ลดเพียงเล็กน้อย

    (-0.50) – (-0.10)

    ลดเล็กน้อย

    (-1.00) – (-0.60)

    ลดในระดับหนึ่ง

    (-2.00) – (-1.10)

    ลดค่อนข้างมาก

    น้อยกว่า (– 2.00)

    ลดมาก

     

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.