สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๒ - ๘ ก.ค. ๕๙

 11 ก.ค. 2559 10:43 น. | อ่าน 2605
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔ ในขณะที่ข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. ก็มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙)  
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นประเด็นเหตุร้ายรายวัน (รถไฟใต้ ๖ ขบวนหยุดบริการ หลังคนร้ายลอบระเบิดราง และ คาร์บึ้มถล่ม ด่านหนองจิก ตร.ตาย ๑ – เจ็บ ๓)
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (กำลัง ๓ ฝ่ายวิสามัญโจรใต้ตาย ๒ ทหารเจ็บ ๒ พร้อมยึดปืนสงคราม ๒ กระบอก และ บิ๊กตู่สั่งคุมเข้มวันฮารีรายอ ชี้ผู้ก่อเหตุหวังกดดันรัฐ), ประเด็นเศรษฐกิจฯ (การค้าชายแดนและแรงงานต่างด้าว และ รัฐบาลทุ่มงบสร้าง ด่านฯสะเดา แห่งใหม่ ตั้งเป้าประตูเชื่อมการค้าอาเซียน), ประเด็นวัฒนธรรมฯ (การเตรียมเสนอพัฒนาให้ วัดคูหาสวรรค์ จ.ยะลา ให้เป็นมรดกโลกต่อไปในอนาคต), ประเด็นความร่วมมือภาคประชาชน (พสกนิกรพร้อมใจถวายพระพรในหลวง), ประเด็นการศึกษา (แนะแนวทำยุทธศาสตร์ให้มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (ศาลยุติธรรม จัดโครงการเยาวชนไทยหัวใจเดียวกันแก่ นร.มุสลิม 3 จว.ใต้), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (รฟท. จัดจนท.-รถยนต์ อำนวยสะดวกผู้โดยสาร ระหว่างซ่อมทางรถไฟรือเสาะ), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (บิ๊กหมู จ่อลงใต้มอบนโยบาย ช่วงสับเปลี่ยนกำลังพล), ประเด็นกีฬา (บีเจซีสนับสนุนแข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน), และ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (เตรียมแผนดันไทย ปรับขึ้นจาก'เทียร์ ๒ 'สู่' เทียร์ ๑)
      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๘  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียนรายงานในรอบสัปดาห์นี้ เหตุการณ์คาร์บอมส์ด่านตรวจความมั่นคงเกาะหม้อแกง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม เป็นประเด็นข่าวเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียนให้ความสนใจมากที่สุด มีทั้งรายงานในสื่อมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งเว็ปไซต์นิตยสารข่าวระดับโลกคือ Time Magazine ก็รายงานเหตุการณ์นี้ เนื่องเพราะเหตุคาร์บอมส์ที่อ.หนองจิก เกิดขึ้นในห้วงวันท้ายๆของเดือนรอมฎอน ซึ่งช่วงเวลาใกล้ๆกันเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศมุสลิมหลายแห่ง ทั้งระเบิดที่มัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในเมืองเมดินา ซาอุดิอารเบีย เหตุขว้างระเบิดใส่สถานบันเทิงในมาเลเซีย เหตุระเบิดฆ่าตัวตายในเมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันทางการมาเลเซียและผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายต่างพากันออกมาเตือนให้ระวังภัยก่อการร้ายจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รัฐอิสลาม” หรือ ISIS ที่มีการเผยแพร่คลิปวิดิโอภาษามลายูปลุกระดมให้ชาวมุสลิมแข็งขืนต่อรัฐบาลประเทศตนเอง คือมาเลเซีย และอินโดนีเซีย

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิง

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.2679ln(x) + 13.304) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔ ในขณะที่ข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) ก็มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน (y = 0.6752ln(x) + 1.928) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙)  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
            เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง
 

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-06-25

13

0

13.00

2016-06-26

23

3

7.67

2016-06-27

10

5

2.00

2016-06-28

9

2

4.50

2016-06-29

20

4

5.00

2016-06-30

8

0

8.00

2016-07-01

7

1

7.00

สัดส่วนเฉลี่ย

6.74

2016-07-02

11

9

1.22

2016-07-03

14

7

2.00

2016-07-04

6

0

6.00

2016-07-05

15

8

1.88

2016-07-06

17

5

3.40

2016-07-07

19

0

19.00

2016-07-08

21

0

19.00

สัดส่วนเฉลี่ย

7.50

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

            ในช่วง ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา (๒๕ มิ.ย. – ๘ ก.ค.๕๙) ไม่ปรากฏภาพข่าวทั้งเชิงบวก และ เชิงลบในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข 
      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.6045ln(x) + 1.4838) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ รถไฟใต้ ๖ ขบวนหยุดบริการ หลังคนร้ายลอบระเบิดราง และ คาร์บึ้มถล่ม ด่านหนองจิก ตร.ตาย ๑ – เจ็บ ๓  ป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.68ln(x) + 2.1528) เฉลี่ยลดลงร้อยละ  ๓๗.๕๐ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.088ln(x) - 0.0869) โดยมีข่าวเพิ่มขึ้นเพียง ๑ ข่าว จากเดิมไม่มีภาพข่าวเชิงลบปรากฏ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว  (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ มาสเตอร์โพล ชี้ คน หนุน-ยอมรับร่างฯ เพิ่มขึ้นทุกประเด็น เป็นต้น

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.483ln(x) + 2.441) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๖ ในขณะที่ข่าวเชิงลบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.0511ln(x) - 0.0205) โดยมีข่าวเพิ่มขึ้นเพียง ๑ ข่าว จากเดิมไม่มีภาพข่าวเชิงลบปรากฏในสัปดาห์ที่แล้ว

ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ กำลัง ๓ ฝ่ายวิสามัญโจรใต้ตาย ๒ ทหารเจ็บ ๒ พร้อมยึดปืนสงคราม ๒ กระบอก และ บิ๊กตู่สั่งคุมเข้มวันฮารีรายอ ชี้ผู้ก่อเหตุหวังกดดันรัฐ เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ คือ “ใต้ระอุ! ฮือไล่ ทพ. คดีข่มขืน”

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.3969ln(x) + 2.5001) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๕๐ ในขณะข่าวเชิงลบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.036ln(x) + 0.0067) โดยมีข่าวเพิ่มขึ้นเพียง ๑ ข่าว จากเดิมไม่มีภาพข่าวเชิงลบปรากฏในสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙) สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ การค้าชายแดนและแรงงานต่างด้าว และ รัฐบาลทุ่มงบสร้าง ด่านฯสะเดา แห่งใหม่ ตั้งเป้าประตูเชื่อมการค้าอาเซียน เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ค่าความร้อน CO 2 ก๊าซ JDA มีปัญหา ต่ำกว่าสเป็กเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าจะนะ บี้ ปตท. แก้ไข เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นนี้
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นนี้
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๒ – ๘  ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙
            ๓.๑๐.๑
 ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera  
            ๓.๑๐.๒  ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตามมีข่าวเลขาธิการทั่วไป OIC สวดขอพร ให้ โลกมุสลิม มีความเจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพ
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11357&t_ref=4461&lan=en​
            ๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
            ๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
            ๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญเกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand
            ๓.๑๐.๖ ในสัปดาห์นี้ มีข่าวสำคัญเกี่ยวกับข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Time (http://www.time.com) จำนวน ๑ ข่าว ได้แก่ ความถี่ของเหตุการณ์การก่อความไม่สงบในช่วงรอมฏอน ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ซึ่งประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศในโลกที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้
ที่มา: http://time.com/4392879/thailand-pattani-bomb-ramadan-terrorism/

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้

ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (รถไฟใต้ ๖ ขบวนหยุดบริการ หลังคนร้ายลอบระเบิดราง และ คาร์บึ้มถล่ม ด่านหนองจิก ตร.ตาย ๑ – เจ็บ ๓) สำหรับ ประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (กำลัง ๓ ฝ่ายวิสามัญโจรใต้ตาย ๒ ทหารเจ็บ ๒ พร้อมยึดปืนสงคราม ๒ กระบอก และ บิ๊กตู่สั่งคุมเข้มวันฮารีรายอ ชี้ผู้ก่อเหตุหวังกดดันรัฐ), ประเด็นเศรษฐกิจฯ (การค้าชายแดนและแรงงานต่างด้าว และ รัฐบาลทุ่มงบสร้าง ด่านฯสะเดา แห่งใหม่ ตั้งเป้าประตูเชื่อมการค้าอาเซียน), ประเด็นวัฒนธรรมฯ (การเตรียมเสนอพัฒนาให้ วัดคูหาสวรรค์ จ.ยะลา ให้เป็นมรดกโลกต่อไปในอนาคต), ประเด็นความร่วมมือภาคประชาชน (พสกนิกรพร้อมใจถวายพระพรในหลวง), ประเด็นการศึกษา (แนะแนวทำยุทธศาสตร์ให้มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (ศาลยุติธรรม จัดโครงการเยาวชนไทยหัวใจเดียวกันแก่ นร.มุสลิม 3 จว.ใต้), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (รฟท. จัดจนท.-รถยนต์ อำนวยสะดวกผู้โดยสาร ระหว่างซ่อมทางรถไฟรือเสาะ), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (บิ๊กหมู จ่อลงใต้มอบนโยบาย ช่วงสับเปลี่ยนกำลังพล), ประเด็นกีฬา (บีเจซีสนับสนุนแข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน), และ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (เตรียมแผนดันไทย ปรับขึ้นจาก'เทียร์ ๒ 'สู่' เทียร์ ๑)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙  พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง (y = -0.212ln(x) + 2.4332) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๘  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๕ มิ.ย. – ๑ ก.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙
      เหตุการณ์คาร์บอมส์ด่านตรวจความมั่นคงเกาะหม้อแกง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม เป็นประเด็นข่าวเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียนให้ความสนใจมากที่สุด มีทั้งรายงานในสื่อมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งเว็ปไซต์นิตยสารข่าวระดับโลกคือ Time Magazine ก็รายงานเหตุการณ์นี้ เนื่องเพราะเหตุคาร์บอมส์ที่อ.หนองจิก เกิดขึ้นในห้วงวันท้ายๆของเดือนรอมฎอน ซึ่งช่วงเวลาใกล้ๆกันเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศมุสลิมหลายแห่ง ทั้งระเบิดที่มัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในเมืองเมดินา ซาอุดิอารเบีย เหตุขว้างระเบิดใส่สถานบันเทิงในมาเลเซีย เหตุระเบิดฆ่าตัวตายในเมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันทางการมาเลเซียและผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายต่างพากันออกมาเตือนให้ระวังภัยก่อการร้ายจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รัฐอิสลาม” หรือ ISIS ที่มีการเผยแพร่คลิปวิดิโอภาษามลายูปลุกระดมให้ชาวมุสลิมแข็งขืนต่อรัฐบาลประเทศตนเอง คือมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
      ๕.๑ เหตุการณ์คาร์บอมส์ที่อ.หนองจิก ปัตตานี เมื่อเวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกา วันที่ ๕ กรกฏาคม เป็นเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนระหว่างประเทศให้ความสนใจ ด้วยเหตุที่เกิดในช่วง ๑๐ วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน เวปไซต์นิตยสารไทมส์พาดหัว ; Lastest in the spate of worldwide Ramadan attacks : Thailand (เหตุโจมตีระลอกสุดท้ายของเดือนรอมฎอนทั่วโลก เกิดขึ้นที่ประเทศไทย) พร้อมด้วยคำอธิบายในข่าวย่อหน้าแรกว่า กลุ่มติดอาวุธที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลไทยยกระดับการโจมตีในเดือนรอมฎอน โดยที่เหตุระเบิดคาร์บอมส์ล่าสุดเกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ที่เกิดเหตุการก่อการร้ายนองเลือดในประเทศตุรกี มาเลเซีย บังกลาเทศ อิรัก ซาอุดิอารเบีย และอินโดนีเซีย
ที่มาข้อมูล
; http://time.com/4392879/thailand-pattani-bomb-ramadan-terrorism/​
            ๕.๑.๑ สื่อในภูมิภาคอาเซียนเหตุระเบิดคาร์บอร์ม ในแนวทางกันคือ รายงานข้อเท็จจริง ว่าเกิดเหตุคนร้ายขับรถยนต์ปิกอัพบรรทุกระเบิดไปจอดใกล้ๆด่านตรวจความมั่นคง ที่อ.หนองจิก และลงจากรถยนต์วิ่งไปขึ้นมอเตอร์ไซค์หลบหนีไป หลังจากนั้นไม่กี่นาทีรถยนต์คันดังกล่าวก็เกิดระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตหนึ่งคน และได้รับบาดเจ็บอีก ๓ คน รายงานข่าวระบุว่า เหตุคาร์บอมส์ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าในรอบสัปดาห์สุดท้ายของเดือนรอมฎอนเกิดขึ้นถึง ๒ ครั้ง เป็นที่น่าสังเกตุว่า สื่อในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ อ้างอิงรายงานข่าวเหตุการณ์นี้ จากสำนักข่าวฝรั่งเศส คือ AFP และเบอนามาของทางการมาเลเซีย โดยที่สื่อมวลชนมาเลเซีย รายงานข่าวนี้มากที่สุดในบรรดาสื่อมวลชนอาเซียน
ที่มาข้อมูล : สื่อมาเลเซีย

http://www.thestar.com.my/news/regional/2016/07/06/car-bomb-kills-one-and-injures-two-in-conflicthit-thai-south/​
http://www.malaysiakini.com/news/347760
สื่อสิงคโปร์ http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/car-bomb-hits-checkpoint-in-rebellious-thai-south​
สื่ออินโดนีเซีย http://www.thejakartapost.com/seasia/2016/07/05/explosion-hits-checkpoint-in-southern-thailand.html
      ๕.๒ สำนักข่าวเบอนามา หนังสือพิมพ์นิวสเตรทไทมส์ และmalaysiakini รายงานเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เดินทางตรวจเยี่ยมหน่วยทหารที่รันตู ปันยัง ชายแดนมาเลเซีย พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า ขอให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาให้แก่ทางราชการเมื่อพบเห็นบุคคลหรือสิ่งที่ต้องส่งสัยขอให้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที พร้อมกับย้ำว่า ผู้ก่อการร้ายพยายามแทรกซึมเข้ามาในประเทศมาเลเซียในทุกช่องทางไม่ว่าจะทางเครื่องบินหรือผ่านเข้ามาทางพรมแดนทางบก
ที่มาข้อมูล http://www.nst.com.my/news/2016/07/156898/call-people-help-check-militant-activities
                https://www.malaysiakini.com/news/347816#ixzz4DcE4L1wW

      ๕.๓ สำนักข่าวเบอนามา รายงานเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ว่า กองทัพไทยและมาเลเซียจะมีการฝึกปฏิบัติทางทหารร่วม และการลาดตระเวณร่วม ในระหว่างวันที่ ๑๘-๒๘ กรกฏาคม ในพื้นที่แนวพรมแดนมาเลเซีย และไทย ด้านอำเภอสะเดา จ.สงขลา การฝีกทางทหารร่วมระหว่างไทยและมาเลเซีย จัดเป็นประจำปีละ ๓ ครั้ง เพื่อเสริมศักยภาพการรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน รวมทั้งการปราบปรามการกระทำผิดกฏหมายและภัยอื่นๆตามแนวพรมแดน
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1261228
      ๕.๔ บทความของนักวิชาการชื่อ AKHBAR SATAR ผู้อำนวยการสถาบันอาชญากรรม และอาชญวิทยา แห่งมหาวิทยาลัย Help ตีพิมพ์ในเวปไซต์ Malaysiakini.com เมื่อวันที่ ๘ กรกฏาคม บรรยายถึงคดีอาชญากรรมด้วยอาวุธปืนที่เพิ่มสูงในมาเลเซีย หลายคดีเป็นคดีอุกอาจ สะเทือนขวัญ พร้อมทั้งมีข้อสังเกตุว่า หลายคดีเป็นการสังหารที่ลงมือ โดยมือปืนรับจ้าง ซึ่งมีราคาค่างวดตั้งแต่ ๕ พันถึง ๑ แสนริงกิต ขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่า เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากแค่ไหน
      Akhbar บอกว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ชี้นิ้วโทษว่า อาวุธปืนเหล่านี้ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศไทย และอ้างว่าการเพิ่มกำลังพลและการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวดสามารถหยุดยั้งการลักลอบนำเข้าปืนเถื่อนตามแนวพรมแดน แต่แม้กระนั้นชาวมาเลเซียก็ยังไม่รู้สึกว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงตามแนวชายแดนได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มที่แล้ว
      บทความชิ้นนี้ ระบุว่า การประกาศตั้งหน่วยปฏิบัติการปราบปรามตามแนวชายแดน (Anti Smuggling Unit) โดยการรวมสามหน่วยงานเข้าเป็นหนึ่งเดียวคือ ตำรวจ ตรวจคนเข้าเมือง และกรมศุลกากรและสรรพสามิต เป็นนโยบายที่ถูกต้อง แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับปัญหา ซึ่งบทความนี้เสนอว่า ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความมั่นคงชายแดน ให้มีความรู้ในกระบวนการสอบสวน และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณและเทตโนโลยีให้เพียงพอรับมืออาชญากรรมและภัยความมั่นคงตามแนวชายแดน เช่น ต้องจัดหาอุปกรณ์ตรวจหาอาวุธปืนและวัตถุระเบิด และต้องเป็นอุปกรณ์ขนาดพกพาให้กับเจ้าหน้าที่ประจำด่านชายแดนที่ปาดังเบซาร์ บูกิตกายูฮิตัม และรันตูปันยัง รวมทั้งควรจัดหาอากาศยานบังคับทางไกล (Drone) ที่มีกล้องความคมชัดสูงสำหรับบินตรวจตราชายแดน และควรมีการก่อสร้างรั้วคอนกรึตและรั้วไฟฟ้าตามแนวพรมแดน อีกด้วย
ที่มาข้อมูล; https://www.malaysiakini.com/letters/347966
      ๕.๕ สำนักข่าวเบอนามา และหนังสือพิมพ์ New Straits Times รายงานเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ว่า ผู้ขับรถแท๊กซี่ชาวมาเลเซียโวยถูกแท๊กซี่เถื่อนชาวไทยแย่งลูกค้า โดยรายงานข่าวชื้นนี้ อ้างว่าผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สังเกตุการณ์ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ และพูดคุยกับโชเฟอร์รถแท๊กซี่ชาวมาเลเซีย หลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หากินฝืดเคืองได้ลูกค้าวันละสองถึงสามเที่ยวเท่านั้น เนื่องจากมีรถแท๊กซี่เถื่อนจากไทยเข้าไปแย่งลูกค้า และจำนวนไม่น้อยไม่ได้วิ่งรับส่งผู้โดยสารระหว่างชายแดนฝั่งไทยกับเมืองชายแดนฝั่งมาเลเซียเท่านั้น รถแท๊กซี่เถือนจากไทยวิ่งพาผู้โดยสารไปถึงกัวลัมเปอร์ สลังงอร์ และเนกรีเซมบิลัน
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/07/157082/illegal-thai-taxis-add-woes-padang-besar-cabbies
                  http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1261449
      ๕.๖ สื่อมาเลเซียหลายสำนัก ประกอบด้วยสำนักข่าวเบอนามา The Star และ Malaysiakini รายงานเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ว่า ตำรวจกองบังคับการตำรวจปราบปรามได้จับกุมตัวคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนสงครามยิงนักธุรกิจมาเลเซียเสียชีวิต ขณะกำลังขับรถยนต์ไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินหาดใหญ่ คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นาย Lee Ah Han หรืออาลี บาบา วัย ๕๔ ปี ถูกคนร้ายขี่รถมอเตอร์ไซค์ใช้ปืนเอ็ม ๑๖ ประกบยิงจนเสียชีวิตคารถยนต์ส่วนตัวขณะที่ภรรยาชาวไทยได้รับบาดเจ็บสาหัส สำหรับคนร้ายชื่อนพ เป็นอดีตทหารวัย ๔๗ ปี ถูกจับกุมและควบคุมไว้ที่สภ.พุนพิน สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๕ กรกฏาคม
ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/07/06/thai-police-detain-suspect-who-shot-malaysian-businessman-in-hatyai/
                http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1261392 
                https://www.malaysiakini.com/news/347851​

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กราฟเส้น 

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.