ศาสนากับความละเอียดอ่อนในการแก้ปัญหา จชต.

 29 มี.ค. 2558 09:13 น. | อ่าน 1235
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+

จากเหตุการณ์คนร้ายพร้อมอาวุธสงครามหลบเข้าไปในบ้านของประชาชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) แห่งหนึ่งในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เมื่อต้นเดือน มกราคม ๒๕๕๘ และเกิดการปะทะกับกำลังเจ้าหน้าที่ที่ปิดล้อม สุดท้ายคนร้ายต้องจบชีวิตจำนวน ๓ คน หลังจากใช้เวลากว่า ๙ ชั่วโมงร่วมกับผู้นำในพื้นที่พยายามเกลี่ยกล่อมให้มอบตัวแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากสร้างความสูญเสียที่ทุกฝ่ายไม่อยากให้เกิดขึ้นแล้ว ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ ได้มีการบิดเบือนปล่อยข่าวลือว่าเจ้าหน้าที่ยิงเด็กนักเรียนปอเนาะเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนที่หลงเชื่ออย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังเข้าสู่สภาวะที่ดีขึ้นตามลำดับ ประชาชนออกมาให้ความร่วมมือในการดูแลพื้นที่ด้วยการอาสาเข้าเป็นกำลังภาคประชาชนประเภทต่าง ๆ จนสามารถป้องกันและบรรเทาเหตุร้ายให้เบาบางลง อีกทั้งเกิดบรรยากาศแห่งความเข้าใจที่ดีระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ตลอดจนความเชื่อมั่นในความปลอดภัยฟื้นคืนอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถาบันด้านศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและเปราะบางส่งผลต่อความรู้สึกโดยเฉพาะพี่น้องชาวไทยมุสลิมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง บรรยากาศที่กำลังดีวันดีคืนพลอยได้รับผลกระทบ อีกทั้งล่อแหลมที่จะถูกนำไปขยายผลให้เกิดความแตกแยกในเวลาต่อมาด้วยความตระหนักในเรื่องดังกล่าว พลโทปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ จึงได้สั่งการให้ส่วนที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริง และสร้างความเข้าใจกับความรู้สึกที่ดีกลับคืนมา โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 ได้จัดให้มีการพบปะครูสอนศาสนาสถาบันปอเนาะ (โต๊ะครู) 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูสอนศาสนาดังกล่าวรับทราบนโยบายการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล และร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายให้ตรงตามความต้องการและหลักการของศาสนา พลโท ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้กล่าว การพบปะในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างส่วนราชการกับสถาบันปอเนาะ ในอันที่จะร่วมมือสร้างความ สงบสุข ด้วยการนำหลักศาสนาอันบริสุทธิ์เป็นพลังต่อสู้ ป้องกันและขับไล่สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ อีกทั้งเป็นความร่วมมือที่จะพัฒนาเสริมสร้างความมั่นคง เข้มแข็ง ก้าวหน้าให้กับสถาบันการศึกษาปอเนาะให้ดำรงการเป็นสถานอบรมสั่งสอนเยาวชนไปสู่การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในอนาคต และก่อนหน้านี้ ก็ได้จัดให้มีการพบปะกับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีมา ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากทั้งโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสถาบันปอเนาะ เป็นสถาบันที่สำคัญคืออยู่คู่กับสังคมชาวไทยมุสลิม เป็นที่เคารพ ศรัทธา และมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของพี่น้องชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาช้านานอย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเพราะในห้วงที่ผ่านมาได้มีกลุ่มก่อเหตุแอบเข้าไปปลุกระดมนักเรียนในสถานศึกษาในบางแห่ง ทำให้นักเรียนบางส่วนหลงเชื่อ จนตกเป็นเครื่องมือเข้ารับการฝึกอาวุธและร่วมกันก่อเหตุ นอกจากนั้นกลุ่มก่อเหตุยังได้อาศัยสถานศึกษาบางแห่งเป็นแหล่งพักพิงหลบซ่อน ตลอดจนเป็นที่ผลิตและสะสมอาวุธวัตถุระเบิดเตรียมการก่อเหตุ ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงจากการพบหลักฐาน ตลอดจนการเปิดเผยของผู้ก่อเหตุที่กลับใจเข้ารายงานตัวต่อทางราชการ ซึ่งทำให้สถาบันสำคัญเหล่านี้ต้องเสื่อมเสียและด่างพร้อยการพบปะทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษาครั้งดังกล่าว จึงมีวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือเพื่อที่จะทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงที่เป็นไป และรับทราบนโยบายการแก้ไขของรัฐบาลที่ยึดหลักสันติวิธี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ หลงผิดกลับตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ละเว้นการดำเนินคดีต่อผู้หลงผิดตามมาตรา ๒๑ ตลอดจนทำความเข้าใจถึง ขั้นตอนการปฏิบัติในการเข้าติดตามจับกุมโดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง และที่สำคัญคือให้ความสำคัญกับผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เข้าร่วมแก้ปัญหาปรึกษาหารือและตัดสินใจร่วมกันทุกครั้ง แม้กระทั้งเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี ๒๕๔๗ ที่กลุ่มคนร้ายพร้อมอาวุธเข้ายึดมัสยิดกรือเซะและมีการปิดล้อม ก็ได้เชิญผู้นำศาสนาระดับสูงในพื้นที่มาร่วมหารือ ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๔ ส่วนหน้า ค่ายอิงคยุทธบริหาร หน่วยรับผิดชอบพื้นที่ในขณะนั้น และมีการเจรจา หว่านล้อมให้มอบตัวก่อนที่จะสลายกำลังในเวลาต่อมา สิ่งเหล่านี้ ถือเป็นแนวทางที่ราชการยึดมั่นตั้งแต่อดีต และยังคงยึดมั่นและให้ความสำคัญต่อไป เนื่องจาก ๑๑ กว่าปีที่ที่ผ่าน ได้สอนบทเรียนอันล้ำค่าว่าการใช้กำลังและความรุนแรงไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้นเลย ซึ่งแม่ทัพภาคที่ ๔ /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้กำชับเรื่องนี้ตลอดเวลา และกำหนดเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายต้องลดเหตุความรุนแรงในทุกพื้นที่ทุกรูปแบบนับจากนี้ไปและล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ พลโท ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้เข้าพบนายนิเดร์ วาบา ผู้บริหารโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา จังหวัดปัตตานี อดีต นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่ได้รับการเคารพนับถือและยอมรับจากผู้นำชุมชน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่ เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการอาศัยสถานศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องในการก่อเหตุ และในโอกาสเดียวกันได้มีการพบปะระหว่างหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน นักศึกษาและประชาชน โดยมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ตามแนวทาง ปรับทุกข์ ผูกมิตร ร่วมคิด ร่วมทำ และนำสันติสุขคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเร็ววัน

ที่มา: southpeace.go.th
Comment
Related
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.